ไทลื้อ: อัตลักษณ์การโยกย้ายถิ่นฐานและนโยบายรัฐไทยสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่ฐานานุรูปแห่งพลเมืองไทย (พ.ศ. 2488-2558)

ผู้แต่ง

  • ชัยวัฒน์ ปะสุนะ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2021.1

คำสำคัญ:

นโยบายรัฐ, รัฐบาลไทย, สัญชาติ, ไทลื้อ, ล้านนา

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาบทบาทของรัฐบาลไทยที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ “ไทลื้อ” หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้วิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์ ศึกษาผ่านหลักฐานชั้นปฐมภูมิจากเอกสารราชการและประมวลความรู้จากงานวิจัยชั้นทุติยภูมิ ผลการศึกษาพบว่าสถานะชาวไทลื้อที่อพยพในทางการเมืองและทางสังคมเป็นพื้นที่ตรงกันข้ามกัน เนื่องจากความคล้ายคลึงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ส่งผลให้ชาวไทลื้อในสังคมภาคเหนือ มีสถานะที่ไม่แตกต่างจากกลุ่มคนทั่วไป สามารถดำเนินชีวิตในชุมชนได้โดยปกติ แต่ทว่าจุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นหลังจากการอพยพเข้ามาหลังเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไทลื้อที่เข้ามาในประเทศไทยติดพันธะของความเป็นพลเมืองของรัฐชาติ สถานะความเป็น “คนนอก” จึงเกิดขึ้นกับผู้อพยพเหล่านี้ บทความนี้นำไปสู่ความเข้าใจด้านกฎหมายและการขอสัญชาติไทย และรัฐบาลไทยต้องหาวิธีเพื่อประสานชาวไทลื้อให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย โดยการให้สัญชาติแก่ชาวไทลื้อในฐานะพลเมืองภายใต้เงื่อนไขที่รัฐบาลไทยกำหนด

References

กฤตยา อาชวนิจกุล. (2554). การจัดระบบคนไร้รัฐในบริบทประเทศไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา. (2551). ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จารุวรรณ พรมวัง. (2537). การปรับตัวของวัฒนธรรมไทลื้อในเชียงม่วน. ใน วัฒนธรรม ไทลื้อกับการปรับตัวในกระแสของการเปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัยวัฒน์ ปะสุนะ. (2563). พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยาม จากเอกสารมิชชันนารี ค.ศ. 1893-1926.

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 1-19.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล และแพทรีเซีย ชีสแมน แน่นหนา. (2537). ผ้าไทลื้อ: การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม. ใน วัฒนธรรมไทลื้อกับการปรับตัวในกระแสของการเปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การสั่งให้บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไปและการให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย. (2555). ราชกิจจานุเบกษา, 129(ตอนพิเศษ 177 ง), 50-53.

ประกาศสำนักงานสถิติกลาง เรื่อง คำเรียกร้องของผู้อำนวยการสถิติ ในการจัดทำสำมะโนประชากร พ.ศ. 2503. (2503). ราชกิจจานุเบกษา, 77(ตอน 16ง), 571-572

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันสำมะโนประชากร พุทธศักราช 2503. (2503). ราชกิจจานุเบกษา, 77(ตอน 4 ง), 21-23.

พระราชบัญญัติสัญชาติ พุทธศักราช 2456. (2456). ราชกิจจานุเบกษา, 29, 279-282.

พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2555. (2555). ราชกิจจานุเบกษา, 129(ตอน 28 ก), 1-4.

วสันต์ ปัญญาแก้ว. (2555). ลื้อข้ามแดน การเดินทางของหนุ่มสาวชาวลื้อ เมืองยองรัฐฉาน ประเทศพม่า. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมเจตน์ วิมลเกษม. (2535). ไทลื้อเมืองน่าน. น่าน: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดน่าน.

สมใจ แซ่โง้ว. (2541). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลื้อ. นครปฐม: สำนักงานวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมโชติ อ๋องสกุล. (2559). เชียงใหม่ 60 รอบนักษัตร: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. เชียงใหม่ : สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน).

สมพร วาร์นาโด. (2537). ชาวลื้อคือใคร ย้อนอดีตชาวลื้อในประเทศลาว ไทย และจีน. ใน วัฒนธรรมไทลื้อกับการปรับตัวในกระแสของการเปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาการทำสำมะโนประเทศไทย. สืบค้น 1 มิถุนายน 2564, จาก http://www.popcensus.nso.go.th/history.php

ไสว เชื้อสะอาด. (2538). ไทลื้อ-ล้านนาถึงสิบสองปันนา. พะเยา: สำนักงานศึกษาธิการเชียงคำ.

Siam, Thailand & Bangkok old photo thread. (n.d.). Retrieved June 1, 2021, from https://www.pinterest.com/pin/864268984715520402/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-01

How to Cite

ปะสุนะ ช. (2021). ไทลื้อ: อัตลักษณ์การโยกย้ายถิ่นฐานและนโยบายรัฐไทยสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่ฐานานุรูปแห่งพลเมืองไทย (พ.ศ. 2488-2558). วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 9(2), 1–30. https://doi.org/10.14456/husoaru.2021.1