ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ พานสุวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • วิชชุกร นาคธน วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรี ศรีสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารทรัพยากรมนุษย์, องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของ องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลรางจรเข้ จำนวน 371 คน สถิติที่ใช้การคำนวณค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามผลของการวิจัย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างมากกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารภายในองค์กร 2) ด้านการแข่งขันขององค์กร 3) ด้านความสามารถของคนในองค์กร 4) ด้านการส่งเสริมความรู้ให้คนใน องค์กร 5) ด้านการพัฒนาบุคคลในองค์กรและ 6) ด้านการบริหารงานของผู้นำ

References

กาญจนา ทับทิมทอง. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลวังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

ธมลวรรณ พงษ์สถินตร์. (2557). การศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานศึกษา สังกัดเขต พื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา. อยุธยา: มหาลัยราชภัฎพรนครศรีอยุธยา.

วันเพ็ญ พานพิกูล. (2554). การบริหารจัดการในโรงเรียนตามหลักธรรมมาภิบาล กรณีศึกษาโรงเรียนชุมชนวัดปราสาทอำเภอป่าโมกจังหวัดอ่างทอง : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุนันทา เลาหนันท์. (2554). การศึกษาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ฉะเชิงเทรา: สถาบัณบัณฑิตวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเจ้. (2562). องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2562 จาก http://www.rangjorrakea.go.th/viewpage.php?page_id=2

อภิชาติ พานสุวรรณ. (2561). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารทุนมนุษย์ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อภิชาติ พานสุวรรณ. (2562). บทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Raymond No. (1996). ทฤษฏีบุคลิกภาพ. New York.

Taro Yamane. (1973). Statistics An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Pubications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30