การประเมินผลแผนสุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การประเมินผลแผนสุขภาพ, โมเดล CIPPบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดทำแผนสุขภาพจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ประจำปี 2562 โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) เป็นกรอบการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตโดยเก็บ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และรายงานผลการดำเนินงานแผนสุขภาพ ปี 2562 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินผล 1) ด้านบริบท พบว่า แผนสุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 4 ด้านของกระทรวงสาธารณสุข แผนสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 4 แผนจังหวัดและปัญหาสุขภาพในพื้นที่ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผู้เข้าร่วมดำเนินงานจัดทำแผน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารระดับจังหวัด อำเภอผู้รับผิดชอบ งานระดับจังหวัด อ าเภอและต าบล ร่วมประชุมจัดท าแผนตามหน้าที่/งานที่รับผิดชอบ แยกตามกลุ่มยุทธศาสตร์ชัดเจน ส่วนงบประมาณ พบว่าในการจัดทำแผนสุขภาพจังหวัด พระนครศรีอยุธยา มีค่าใช้จ่ายดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพ ประจำปี 2562 เป็นเงินจำนวน 78,400 บาท สำหรับงบประมาณที่บรรจุในแผนสุขภาพ จังหวัดภายใต้ยุทธศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ 4 ด้าน รวม 172 โครงการ เป็นเงิน 86,765,992.17 บาท แผนสุขภาพที่มีการใช้งบประมาณสูงสุด (ร้อยละ 88) คือ แผนบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) รองลงมาคือ แผนด้าน บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) (ร้อยละ 9) ส่วนแผนด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน โรคและคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (PP&P Excellence) และแผนด้านบุคลากร (People Excellence) ร้อยละ 2 และ 1 ตามลำดับ 3) ด้านกระบวนการ พบว่า การจัดทำแผน สุขภาพจังหวัดประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผน การดำเนินงานตามแผน ตรวจสอบ การดำเนินการ และการปรับแผน 4) ด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ภาพรวม 64 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ 37 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 60.90) เมื่อพิจารณารายยุทธศาสตร์ พบว่า ยุทธศาสตร์สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70.59 ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 45.16 ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 71.43 และยุทธศาสตร์สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพจากทุกภาคส่วน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
ข้อเสนอแนะที่พบ ควรมีการทบทวนแผนสุขภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ แบบบูรณาการทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอลดความซ้าซ้อน ทั้งควรมีการประเมิน ประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณแต่ละแผนงาน ว่ามีความคุ้มค่าเหมาะสมกับผลผลิต ที่เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร
References
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2559). การประเมินแผนยุทธศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4 ปี (พ.ศ. 2555-2558)
ณัฐกฤช มุสิกะโสภณ. หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับหน่วยงานทางปกครอง. [อินเทอร์เน็ต]. 2562; [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1420
สำนักงานข้าราชการพลเรือน. คู่มือการพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. สวัสดิการ สำนักงาน ก.พ.; 2545.
รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2554). บทสังเคราะห์ข้อเสนอ บทบาทกระทรวงสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21. นนทบุรี: หจก.สหพัฒนไพศาล.
ไพรัช บวรสมพงษ์ และคณะ. (2555). การประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ
อุสาห์ พฤฒีจีระวงศ์, โกเมนทร์ ทิวทองและนงลักษณ์ สุวิสิษฐ์. (2555). กระบวนการ จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพแบบมุ่งผลลัพธ์: กรณีศึกษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. [อินเทอร์เน็ต]. 2555; [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: ttp://kb.hsri.or.th
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์ ผลการศึกษากระบวนการและการบริหารแผนสาธารณสุขระดับพื้นที่.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554). กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติ ปี2554-2558. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด.
Deniel L.stufflebeam .(2000). The CIPP Model for evaluation.
Drucker, P.F. (1995). Managing human resources: Productivity, quality of work life,profits. 4th ed. New York: McGraw-Hill.
Jo Cooke. (2005). A Framework to evaluate research capacity building in health care.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา