พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยามจากเอกสารมิชชันนารี ค.ศ. 1893-1926

ผู้แต่ง

  • ชัยวัฒน์ ปะสุนะ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาษาล้านนา, มณฑลพายัพ, มิชชันนารี, อิทธิพลสยาม

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการศึกษาพัฒนาการทางสังคมล้านนาในช่วงที่รัฐสยามเข้ามาจัดการปกครองให้เป็นมณฑลพายัพ ระหว่าง ค.ศ. 1893-1926 ในประเด็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษาที่ใช้ในสังคมมณฑลพายัพโดยได้รับอิทธิพลจากสยาม วัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพลวัตที่เกิดขึ้นทางสังคมล้านนาที่ได้รับผลโดยตรง ในกระบวนการผสมผสานและกลืนกลายทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นผลจากการส่ง อิทธิพลของสยามมาสู่สังคมล้านนาผ่านข้อพิสูจน์ด้านการใช้สำนวนภาษาที่เปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยยะสำคัญ โดยมีหัวข้อศึกษา 3 หัวข้อสำคัญได้แก่ 1. ภูมิหลังและพัฒนาการของภาษาล้านนา 2. การแผ่กระจายอิทธิพลทางภาษาสยามโดยผ่านมิชชันนารี และ 3. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบคำและวิธีคิดของชาวล้านนา ศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิทยา ทางประวัติศาสตร์เน้นการเข้าถึงหลักฐานชั้นปฐมภูมิ คือ จดหมายเหตุและเอกสารของ มิชชันนารี ผลการศึกษาพบว่าการขยายอิทธิพลของสยามได้สร้างความเปลี่ยนแปลงด้านภาษาในช่วงที่การปฏิรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลภาษาสยามได้มี บทบาทมากขึ้นในสังคมล้านนา ดังปรากฏการใช้คำศัพท์และรับเอาแนวคิดของสยามเข้าใช้ในสังคมล้านนาโดยผ่านสื่อกลางอย่างมิชชันนารีและช่องทางจากสิ่งตีพิมพ์ของ มิชชันนารี

References

“คำกลอนเปนคำสอน.” สิริกิติสับบ์. (มีนาฅม 1918), 68.

“งานที่กระทำเพื่อความสุขของเด็กเล็กแลเด็กรุ่น.” สิริกิติสับบ์. (ตุลาฅม 1924), 365.

“พระบรมราชโองการประกาศ ใช้ทุ่มโมงยาม.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 17 ตอน 18 (29 กรกฎาคม 1900), 206.

“อะไรเป็นวิชาส าคัญส าหรับผู้หญิง.” สิริกิติสับบ์. (มกราฅม 1917), 265.

“(เลือกตัดตอนจากหนังสือพิมพ์).” สิริกิติสับบ์. (เมษายน 1918), 364.

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ. OHT 4/79 บันทึกการถอดแถบบันทึกเสียง สัมภาษณ์ “หมวก ไชยลังการณ์.” (17 มกราคม 1979), 28.

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ. OHT 7/79 บันทึกการถอดแถบบันทึกเสียงสัมภาษณ์ “ขุนนิวรณ์โรคาพาธ.” (10 มกราคม 1979), 2-11.

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ. OHT 28/79 บันทึกการถอดแถบบันทึกเสียงสัมภาษณ์ “บุญชม อารีวงศ์.” (23 เมษายน 1979), 2-17.

“ขร่าวปรเสิฏตามเลิ่อง์แห่งมัทธาย.” แปลโดย แมคกิลวารี, เดเนียล และแมคกิลวารี, โซเฟีย. Matthew. เชียงไหม่: บ้านวังสีงฅำ, 1896.

Briggs, William. A. Frist Lessons in the Study of Laos Language. Cheing Mai: American Presbyterian Mission, 1904.

The Laos News. Vol. 1 (1904) Cheing Mai: American Presbyterian Mission Press.

The Laos News. Vol. 3 (1906) Cheing Mai: American Presbyterian Mission Press.

The Laos News. Vol. 4 (1907) Cheing Mai: American Presbyterian Mission Press.

แมคกิลวารี, เดเนียล. (2544). กึ่งศตวรรษในหมู่คนไทยและคนลาว : อัตชีวประวัติของ ศาสนาจารย์เดเนียล แมคกิลวารี ดี. ดี.. แปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มติชน.

วิภา จ้อยสูงเนิน. ฉันพร้อมที่จะเดินฝ่าก าแพงหิน. เชียงใหม่: เชียงใหม่พริ้นท์ติ้ง, 2554.

ศิวัช ศรีโภคางกุล. “อำนาจและการเมืองของ “ภาษา”,” ใน วารสารการบริหารปกครอง. ฉบับ 2, ปี 7 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561), 114-137.

เฮอร์เบิท อาร์. สวอนสัน และประสิทธิ์ พงศ์อุดม. บรรณาธิการ. (1990). ศาสนาคริสต์ – มิชชันนารี - สังคมไทย. เชียงใหม่ : ฝ่ายประวัติศาสตร์ สภาคริสต์จักรในประเทศไทย.

Renard, Ronald D. “King Vajiravudh, Thai Nationalism, and Karen.” In Turton, Andrew. (2000). Civility and Savagery: Social Identity in Tai States. Surrey: Cruzon Press.

Vachara Sindhuprama. (1988). Modern Education and Socio-Cultural Change in Northern Thailand, 1898-1942. Doctor of Philosophy in History, University of Hawaii.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30