การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิต ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธีรพล เจริญสุข สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา
  • แสงจิตต์ ไต่แสง สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร, การจัดการทรัพยากรมนุษย์, กรมสรรพสามิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะ ของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร และเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะ การศึกษาใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากร กรมสรรพสามิตเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบด้วยค่าที การทดสอบแบบวิเคราะห์ ความแปรปรวน 1 ตัวแปร (One – way ANOVA) หรือค่าเอฟ (F - test) ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบ ธรรม และระดับน้อยที่สุด คือ ด้านการพัฒนาองค์กร แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของ บุคลากรกรมสรรพสามิต พบว่า ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ควรมีการพัฒนาผลงานให้สูงกว่า มาตรฐาน ด้านการบริการ ควรมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ ควรมีการส่งเสริมความโปร่งใส ในการทำงาน อย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบได้ ด้านการทำงานเป็นทีม ควรมีการมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ด้านการพัฒนาองค์กร ควรมีการกำหนด แนวทางการยกระดับมาตรฐาน และด้านการคิดวิเคราะห์ ควรมีการวางแผนการจัดการอย่างเป็นระบบ

References

เกษรา โชติช่วง. (2554). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรส่วนการคลังในเขตอำเภอ เมือง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จามรี บัวทุม. (2558). สมรรถนะบุคลากรของเทศบาลตำบลทับมา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ชลารักษ์ นุชแดง. (2555). การพัฒนาสมรรถนะหลักของข้าราชการพลเรือนกรม การพัฒนาชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชาตรี เทียนทอง. (2556). แนวทางส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรกองการเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ธาดา รัชกิจ. (2562). เสริมสร้างสมรรถนะ (Competency) ให้บุคลากร ส่งเสริมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564 จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190624competency/

พัชรมัย แก้วบรรจง. (2556). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือน สำนักงานศึกษาธิการภาค 1–13. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พิสมัย ชัยมหา. (2558). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานสำนักงาน อัยการสูงสุด ภาค 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เพ็ญ จะชานรัมย์. (2559). สมรรถนะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านการลงทุนในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

รุ่งฤดี สมประสงค์. (2558). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักเลขานุการสำนักงานโยธา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณรัตน์ ศรีกนก. (2556). การพัฒนากรอบสมรรถนะของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก.

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล. (2562). แผนอัตรากำลังกรมสรรพสามิต 5 ปี. กรุงเทพฯ: ส่วนอัตรากำลังและระบบงาน สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล.

สุพจน์ นาโพตอง. (2558). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของข้าราชการศาลยุติธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

เสาวลักษณ์ ฉายรุ้ง. (2557). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรในธุรกิจโรงแรม เขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

อัจฉรา หล่อตระกูล. (2557). การพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

Likert, R. A. (1932). Technique for the measurement of attitude. Archives Psychological, 3(1), 42-48.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29