การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดเวียดนามที่ตัดสินใจเลือกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยผ่านบริษัทนำเที่ยว ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

Main Article Content

ธนาวัฒน์ ปัทมฤทธิกุล

บทคัดย่อ

               การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดเวียดนามที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย ผ่านบริษัทนำเที่ยว ของนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดเวียดนาม ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 กลุ่ม           ทำให้ได้ข้อมูลพฤติกรรมของกลุ่มทัวร์นักท่องเที่ยวเวียดนาม ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการบริษัทเที่ยว เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามที่เดินทางมาท่องเที่ยวผ่านบริษัทนำเที่ยว จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวและเดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยเดินทางมาแบบ Private Group มากับเพื่อนร่วมงาน/บริษัท มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อเที่ยวประจำปีของบริษัท ส่วนใหญ่เดินทางมา 4 วัน ใช้จ่ายตลอดการเดินทางมากกว่า 6,000,000 VND รับรู้ข้อมูลจากสื่อบุคคล และกิจกรรมที่นิยมทำ คือ เช็คอิน และถ่ายภาพ  (2) ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ส่งผลต่อการเลือกเดินทาง คือ คนไทยมีมนุษยสัมพันธ์ไมตรีจิตที่ดี และ (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกเดินทางของนักท่องเที่ยวผ่านบริษัทเที่ยว ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.27, S.D. = .684)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ม.ค. - ส.ค. ปี 2566 (เบื้องต้น). https://www.mots.go.th/news/category/706

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศปี 2565. https://tatreviewmagazine.com/article/situation2022-inter/.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). โครงการประเมินผลและวิจัยอัตราการรับรู้ภาพลักษณ์ประเทศไทย ประจำปี 2565. http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/T27264.pdf.

กันคพงศ์ คุ้มโนนชัย, อธิป จันทร์สุริย์. (2565). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามใช้ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 5(4) : 165-172.

จุฑามาศ วิศาลสิงห์ และคณะ. (2555). โครงการศึกษาภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยในสายตาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. กรุงเทพฯ: ยูเรก้า คอนซัลติ้ง.

จุไรภรณ์ รื่นเริง. (2557). การรับรู้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการเลือกใช้ บริการสปาของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ลำปาง: คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณฤทัย กุลฑา. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2564). ความปกติสุขในความปกติใหม่ การท่องเที่ยวไทยในสถานการณ์ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุพีเรีย พริ้นติ้งเฮาท์.

ธรรมจักร เล็กบรรจง. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิมชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิราพร ลักษณะวิลาศ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อแพ็คเกจท่องเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนา ตุลยกิจวัตร. (2565). Krungthai COMPASS คาดต่างชาติระยะใกล้หนุนตลาดท่องเที่ยวปี 2566 ก่อนลุ้นนักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวเต็มที่ปี 2567. https://www.efinancethai.com/LastestNews/Latest

ประนิทัศ ภูขีด. (2562). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราธานี.

ประพัฒน์ สุขสว่างวงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจนำเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีน ในเมืองพัทยา. (นิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

มัสลิน วงศ์เครือวัลย์. (2562). ทัศนคติและพฤติกรรมนักท่องชาวเวียดนามท่องเที่ยววัดสำคัญในเกาะกรุงรัตนโกสินทร์. (สารนิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วุฒิไกร งามศิริจิตต์ และคณะ. (2557). การพัฒนาระบบอุปทานการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุภาวดี ล้อมหามงคล. (2545). คุณลักษระนักศึกษาฝึกงานที่พึงประสงค์ของธุรกิจนำเที่ยว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุรีรัตน์ ประเทืองทิน. (2556). การรับรู้มีผลต่อการตัดสินใจตามปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ บัตรออมสินวีซ่าเดบิต สมาร์ทไลฟ์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ลำปาง: คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น.

อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์. (2565). กลุ่มไฮโซกัมพูชา-เวียดนาม ฮิตเที่ยว ช้อปปิ้งโซนพัทยา-ระยอง. https://www.prachachat.net/tourism/news-933077.

Beerli, A. and Martin, JD. (2004). Factors Influencing Destination. Image Annals of Tourism Research. 31(3), 657-681.

Butler, D., Carter, P. and Brunn, D. (2002). Africa-America Travel Agents Travails and Survival. Annals of Tourism Research. 29(4): 1022-1035.

Haines, G. H., Howard, J. A., & Sheth, J. N. (1970). The theory of buyer behavior. Journal of the American Statistical Association. 65(331): 1406-1407.

Klenosky, D. (1998). Travel agents’ destinations. Annals of Tourism Research. 25(3) : 661-674.

Kotler, P., & Keller, K. (2012). Marketing management (14th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Minh Lý. (2563). ประเทศไทยคือจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวเวียดนาม. https://vovworld.vn/th-TH/.

Nicosia, F. M. (1966). Consumer decision processes: Marketing and advertising implications. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Schmoll, G. A. (1997). Tourism promotion. London: Tourism International Press.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd Ed.). New York: Harper and Row.