ภาวะกาลหลังโลกรวนในเรื่องสั้น “สิงโตนอกคอก” : การอุปลักษณ์และการสื่อความหมาย

Main Article Content

คมกฤษณ์ วรเดชนัยนา

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะกาลหลังโลกรวนในรวมเรื่องสั้นสิงโตนอกคอก         ในเชิงการอุปลักษณ์และการสื่อความหมาย จากตัวบทเรื่องสั้นจำนวน 3 เรื่อง คือ 1) จะขอรับผิดทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว 2) สมาชิกในหลุมหลบภัย และ 3) สิงโตนอกคอก ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนั้น จะกล่าวถึงภาวะกาลหลัง โลกรวนว่ามีสภาวะเช่นไร โดยไม่กล่าวถึงช่วงภาวะโลกรวนว่าเป็นอย่างไร โดยอาศัยกรอบแนวคิดเรื่องภาวะกาลหลังโลกรวน รวมทั้งแนวคิดเรื่องการอุปลักษณ์และการสื่อความหมาย เพื่อจะหาคำตอบว่า เรื่องสั้นที่มี     โครงเรื่องสะท้อนภาวะกาลหลังโลกรวนมีการอุปลักษณ์อย่างไรและสื่อความหมายว่าเช่นใด จากผลการศึกษา         การอุปลักษณ์ภาวะกาลหลังโลกรวนพบว่า 1) ภาวะกาลหลังโลกรวนเป็นอุปลักษณ์ของความดิบเถื่อน ซึ่งเป็นอำนาจความดิบเถื่อนของผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า กระทำต่อผู้ที่แตกต่างและต่ำต้อยกว่าตนเอง 2) ภาวะกาลหลังโลกรวนเป็นอุปลักษณ์ของการล่มสลายของระบบศีลธรรมของผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าที่มักจะกดขี่ข่มเหงและไร้ซึ่งศีลธรรมต่อผู้ที่แตกต่างและต่ำต้อย ส่วนประเด็นของการสื่อความหมาย พบว่า มีการนิยามความหมายให้กับภาวะกาลหลังโลกรวน 2 ประการ คือ 1) ภาวะกาลหลังโลกรวนในฐานะสัญลักษณ์ของอำนาจธรรมชาติ ซึ่งเป็นอำนาจธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถหยั่งถึงได้ เป็นการสั่นคลอนความเข้าใจของมนุษย์ที่มักตั้งตนบนมโนทัศน์ที่ว่าตนเองอยู่เหนือธรรมชาติทั้งปวง 2) ภาวะกาลหลังโลกรวนในฐานะสัญลักษณ์ของความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสะท้อนความไม่เท่าเทียมกัน โดยมักจะปรากฏในทุก ๆ เรื่อง        ในทุก ๆ พื้นที่ ในทุก ๆ ภาคส่วน และในทุก ๆ กาลเวลา อันเชื่อมโยงไปถึงเรื่องสวัสดิภาพของผู้คนในสังคมหลังโลกรวนได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท. (2560). สิงโตนอกคอก. กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์.

ชัยยนต์ ทองสุขแก้ง. (2563). “เมื่อธัญญาหารถูกผลาญสิ้น: อ่านโรคระบาดไวรัสและหายนภัยธรรมชาติ ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง เดอะเดธออฟกราส (The Death of Grass)” ใน มนุษยศาสตร์สาร. 21(2). หน้า 214-234.

ดารินทร์ ประดิษฐ์ทัศนีย์. (2559). “กายพ่ายพิษ : ร่างกาย ตัวตน สังคม และมลภาวะ ใน Body Toxic: An Environmental Memoir ของ ซูซาน แอนโทเนตตา” ใน พินิจปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านมุมมองวรรณกรรมอเมริการ่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารินทร์ ประดิษฐ์ทัศนีย์. (2560). “การวิจารณ์วรรณกรรมแนวนิเวศ (Ecocriticism) : บทแนะนำเบื้องต้น” ใน ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะทัศนะของนักวิชาการไทย. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์นาคร.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559). แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์นาคร.

พชรวรรณ บุญพร้อมกุล. (2562). “Ecocriticism นิเวศวิจารณ์: วรรณกรรม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โลก” ใน นววิถี: วิธวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

พชรวรรณ บุญพร้อมกุล. (2565). “ “ธรรมชาติกำลังพูด ”: การวิเคราะห์วาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติในคลิปวีดิโอ “Julia Roberts Is Mother Nature” ” ใน วารสารศิลปศาสตร์. 22(2). หน้า 1-23.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

Buell, L. (1995). The Environmental Imagination: Thoreau, Nature Writing and the Formation of American Culture. London: Princeton University Press.

Garrard, G. (2012). Ecocriticism. New York: Routledge.

Heffernan, T. (2015). “The Post-Apocalyptic Imaginary: Science, Fiction, and the Death Drive” in English Studies in Africa. 58 (2). pp 66-79.

Lakoff, G. & M. Johnson. (1980). Metaphor We Live By. Chicago: Chicago University Press.

Tessa, H. (2018). Post-Apocalyptic Literature: Humanity’s Survival Tool. Proceedings of The National Conference On Undergraduate Research (NCUR) 2018 University of Central Oklahoma Edmond, Oklahoma.

Thompson, D. (1997). The End of Time: Faith and Fear in the Shadow of the Millennium. London: Minerva.