The การพัฒนาสื่อเชิงสร้างสรรค์เพื่อช่วยยกระดับความสามารถด้านความจำสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในการต่อยอดสู่กระบวนการออกแบบหัตถกรรมเชิงพาณิชย์

Main Article Content

วินิตา คงประดิษฐ์

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาสื่อเชิงสร้างสรรค์เพื่อช่วยยกระดับความสามารถด้านความจำสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในการต่อยอดสู่กระบวนการออกแบบหัตถกรรมเชิงพาณิชย์ 2) เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะทักษะในการสร้างสรรค์สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3) เพื่อส่งเสริมต่อยอดความสามารถจากการเรียนรู้ของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในการประกอบอาชีพและได้รับจ้างงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลภาคสนาม ใช้ทฤษฎีความจำสองกระบวนการ ทฤษฎีการสลายตัว และแนวคิดเชิงออกแบบ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า การใช้สื่อสมุดบันทึกเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการบันทึกแบบ “บูโจ” ประกอบกับการใช้แผนภาพ ภาพร่าง และการจดคำจากการแปลของล่ามภาษามือไทยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อแบบเฉพาะเจาะจง จัดรูปเล่มตามรสนิยมของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินซึ่งทำการบันทึกด้วยตนเองนั้น สามารถกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ศึกษาทบทวน และยกระดับความสามารถด้านความจำในระดับที่ดีขึ้น มีสัดส่วนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยผู้เรียนด้านศิลปะและการออกแบบที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อยอดในการออกแบบสร้างสรรค์หัตถกรรมเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-70. (2565, 1 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง. หน้า 121-131.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 3.

ศรียา นิยมธรรม. (2538). ความบกพร่องทางการได้ยิน: ผลกระทบทางจิตวิทยาการศึกษาและสังคม. รำไทย เพรส.

ศรียา นิยมธรรม. (2551). ทัศนศิลป์เพื่อการศึกษาพิเศษ. แว่นแก้ว.

สมวดี ไชยเวศ. (2555). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความจำของมนุษย์. ภูมิการพิมพ์.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิต (2535) ความจำมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Adams, J. A., & Dijkstra, S. (1966). Short-term memory for motor responses. Journal of Experimental Psychology, 71(2), 314–318. https://doi.org/10.1037/h0022846

Atkinson, R. M., Shiffrin, R. M. (1968). Human Memory: A Proposed System and Its Control Processes. In Psychology of Learning and Motivation. (Vol. 2, pp. 89-195).

Carroll, R. (2018). The Bullet Journal Method: Track the Past, Order the Present, Design the Future. (1st Edition). Penguin.

Cowan, N. (2010). The Magical Mystery Four: How is Working Memory Capacity Limited, and Why?

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2864034/

Cuncic, A. (2022, 11 July). What are the 5 Stages of Memory?. https://www.verywellmind.com/what- are-the-5-stages-of-memory-5496658

D.School. (n.d.). (2004). Welcome to the Virtual Crash Course in Design Thinking. http://dschool.stanford.edu/dgif/

Flavell, J. H., Miller, P.H., & Miller, S. A. (2001). Cognitive Development. (4th, 02). Prentice Hal.