แนวทางการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่น “ผ้าสีมายา” จังหวัดยะลา ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ เป็นวิจัยทั้งเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้ผลิตผ้าสีมายา กลุ่มภาคีภาคราชการ และกลุ่มผู้บริโภค เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 133 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก รวมทั้ง ใช้เครื่องมือแบบสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์ กับตัวแทนกลุ่มผ้าสีมายา กลุ่มองค์กรในชุมชน และตัวแทนหน่วยงานราชการ จำนวนรวม 29 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผ้าสีมายาใช้มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาสร้างคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และการนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์การออกแบบลวดลายบนพื้นผ้า รวมถึง ศิลปะการมัดลวดลายผ้าตามจินตนาการของผู้ผลิตโดยใช้ทรัพยากรในพื้นถิ่น ส่วนสภาพปัญหาอุปสรรคของการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่น “ผ้าสีมายา” คือ คุณค่าด้านภาพลักษณ์มีน้อย มีข้อจำกัดการเรียนรู้วิธีการผลิตใหม่ๆ ขาดความรู้และความเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ขาดการสืบทอดและการเชื่อมโยงคุณค่ากับประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ ส่วนแนวทางการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่นผ้าสีมายา” คือ ควรนำเรื่องราวในตำบล มาผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง ควรส่งเสริมการรวมกลุ่มเยาวชน การตลาดออนไลน์ การพัฒนาองค์ความรู้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึง การขับเคลื่อนร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อสร้างการรับรู้ในคุณค่าผ้าสีมายา
Article Details
References
กงแก้ว ศรีสุข, ชำนาญ รอดเหตุภัย, วิศนี ศิลตระกูล. (2559). ผ้าทอนาหมื่นศรีและผ้าทอเกาะยอ : การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11(33), 87-100.
จุรีวรรณ จันพลา, วลี สงสุวงค์ เพ็ญศิริ กิจค้า, สุรีรัตน์ วงศ์สมิง. (2559). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 82-98.
ชนกนาถ มะยูโซ๊ะ. (2555). ศิลปะการออกแบบลวดลายผ้าด้วยการมัดย้อมสีจากธรรมชาติ: ศึกษาเฉพาะ ประเภท รูปแบบ เทคนิคและกระบวนการออกแบบลวดลายด้วยการมัดย้อมผ้า การสกัดสีย้อมจากธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ฐิติกร พูลภัทรชีวิน. (2553). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy), จาก: https://www.doyourwill.co.th/post/creativeeconomy
ทองเจือ เขียดทอง. (2558). ผลิตภัณฑ์ผ้าปักม้ง: การออกแบบเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 2(1), 55-79.
ธนิดา พลอินทร์. (2564). ผ้าปักสไบมอญ : แนวทางการอนุรักษ์และการสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิง เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(1), 781-791.
ธันย์นิชา วิโรจน์รุจน์. (2563). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(3), 134-146.
ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว, กัลยานี วิจิตร, ทศพร ยันนี, ธัญญาภรณ์ รินโยธา, วรพงศ์ เลี่ยวตระกูล, อารียา ห่าหอ. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติของบ้านหินลูกเดียว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2562 (น.1098-1113).
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. ธำรงชาติ วงศ์อารีย์, ไวพจน์ ดวงจันทร์, ภูมิพัฒน์ ชมพูวิเศษ, ภาณุมาศ พุฒแก้ว. (2558). ผ้าพื้นเมืองไทพวน: ลวดลายและเส้นสายอารยะธรรม บ้านเชียง จากอดีตสู่ปัจจุบัน. วารสารการพัฒนาชุมชนและ คุณภาพชีวิต, 3(2), 195-202.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559. (2559). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 33 ตอนที่ 19ก, หน้า 1-9.
เพียงดาว สภาทอง, ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร, ปานเทพ ลาภเกสร. (2559). แนวทางการสืบทอดวัฒนธรรมและอาชีพการทอผ้าทอไทยวนของศูนย์วิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านโนนกุ่ม อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 77-83.
ภัทรีพันธุ์ พันธุ, วรัญญา พรหมสาขา ณ สกลนคร, พิมทรัพย์ พิมพิสุทธิ์. (2564). การส่งเสริมเอกลักษณ์ลวดลายผ้าเขียนเทียนชาวม้งสู่การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งรายจังหวัดเชียงราย. วารสารนิติ รัฐกิจ และสังคมศาสตร์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 5(1), 147-17.
มธุรส เวียงสีมา, นิรัช สุขสังข์. (2563). การออกแบบลวดลายผ้าจากศิลปะภูมิปัญญาผ้าจกไทพวนและไทยวนตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 127-151.
รอกีเย๊าะ กาแซ, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, อุดมศักดิ์ เดโชชัย, เดโช แขน้ำแก้ว. (2561). บูวัตเล๊ะไกงตือนูนันปะลางิง : แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำลวดลาย ผ้าทอมือ กรณีศึกษา กลุ่มศรียะลาบาติก ตําบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่1. วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี.
วรรณา โชคบันดาลสุข, กุลยา อนุโลก, วรลักษณ์ ทองประยูร. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การแข่งขัน ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับผ้าทอพื้นเมืองไทยทรงดำในจังหวัดราชบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(1), 62-73.
สุจิตตรา หงส์ยนต์, พิกุล สายดวง. (2560). การมีส่วนร่วมในการสืบสานศิลปะการทอผ้าไหมสู่การตระหนัก และสืบทอดทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 222-234.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2560). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). รายงานการศึกษาเบื้องต้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (The creative economy). บี.ซี.เพรส (บุญชิน).
อลิษา ดาโอ๊ะ. (2566). “ผลิตภัณฑ์สีมายา” ชุมชนหน้าถ้ำจากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติสู่ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน.
จาก: https://www.paaktai.com/news_economy/detail/
อารียา บุญทวี, จินดา เนื่องจำนงค์. (2565). การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าในกลุ่มสตรีตัดเย็บบ้านนายาว อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 24(1), 147-157.
Bulut, M.O., Akar, E. (2012). Ecological Dyeing with Some Plant Pulps on Woolen Yarn and Cationized Cotton Fabric. Journal of Cleaner Product, 32, 1-9.
Siva, R. (2007). Status of Natural Dyes and Dye-Yielding Plants in India. Current Science, 92, 916-925.