คำเรียกสีในภาษาแสก บ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

Main Article Content

ศิรประภา สระแก้ว
ดุจฉัตร จิตบรรจง

บทคัดย่อ

                 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำเรียกสีพื้นฐาน คำเรียกสีไม่พื้นฐาน และกลวิธีการสร้าง      คำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษาแสก บ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม     โดยเก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาที่มีอายุระหว่าง 50 – 70 ปี จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า คำเรียกสีพื้นฐานในภาษาแสก บ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม มีทั้งหมดจำนวน 12 คำ ได้แก่ ห่าว /haaw1/ (ขาว) หรั๋ม /ram2/ (ดำ) หรี๋ง /riiŋ2/ (แดง) ว๊าง /waaŋ3/ (เหลือง) เห่ว /heew1/ (เขียว) ผา /phaa5/ (ฟ้า) นัมเงิน /nam6 ŋən3/ (น้ำเงิน) นัมต๋าน /nam6 taan2/ (น้ำตาล) เทา /thaw3/ (เทา) อิด /ʔit3/ (ม่วง) บั๋ว /bua2/ (ชมพู) และ สัม /sam5/ (ส้ม) และมีวิวัฒนาการคำเรียกสีพื้นฐานอยู่ในระยะที่ 7 ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของเบอร์ลินและเคย์ ส่วนกลวิธีการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานพบทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่ 1) การใช้คำเรียกสีเฉพาะ 2) การนำคำเรียกสี 2 คำมาผสมกัน 3) การนำคำเรียกสีมาผสมกับคำขยาย และ 4) การใช้คำเรียกสิ่งของเฉพาะเป็นคำเรียกสี โดยพบกลวิธีการใช้คำเรียกสิ่งของเฉพาะเป็นคำเรียกสีมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉียูน เจียง. (2560). การเปรียบเทียบคำเรียกสีและการรับรู้สีในภาษาไทยของชาวกรุงเทพฯ กับภาษาจีน ของชาวฮั่นในนครหนานหนิง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:145337#

นฤมล ศิริพันธุ์. (2554). คำเรียกสีและทัศนคติที่มีต่อสีของผู้พูดภาษาไทย กะเหรี่ยงโปว์ มอญ และขมุใน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร].Silpakorn University Repository : SURE. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/4455?attempt=2&

ปรีชา ชัยปัญหา และคณะ. (2553). แนวทางการจัดทำพจนานุกรมภาษาแสกฉบับชาวบ้านเพื่อการ อนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาแสกบ้านบะหว้า ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม. รายงานวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พิกุล ภูชมศรี. (2561). คำเรียกสีในภาษาไทยถิ่นอีสาน. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 7(1), 103–122.

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/101466/100492

วรรณวนัช อรุณฤกษ์. (2564). คำเรียกสีของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์. 39(2), 92 -113. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/joling/article/download/245757/171577.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2519). ภาษาแสก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศตนันต์ เชื้อมหาวัน. (2541). คำเรียกสีและการรับรู้สีของผู้พูดภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68819

ศรินยา จิตบรรจง. (2545). การวิเคราะห์การแปรการใช้ศัพท์ของคนระดับสามอายุในภาษาแสก อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศรินยา จิตบรรจง. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงและระบบคำภาษาแสกในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวกับประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อภิญญา เพชรวิจิต. (2545). การสร้างคำเรียกสีในภาษาไทยและภาษาลาว. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2538). คำเรียกสีและการรับรู้สีของชาวจ้วงและชาวไทย. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Berlin, Brent and Paul Kay. (1969). Basic Color Terms: Their Universality and Evolution. Berkeley : University of California Press.

Gedney, William, J. (1970). The saek language of Nakhon phanom province. Journal of the Siam Society, 58(1), 67-87.

chromeextension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://thesiamsociety.org /wpcontent/uploads/1970/03/JSS_058_1d_Gedney_SaekLanguageOfNakhonP hanom.pdf