ผลของกลุ่มจิตบำบัดการรู้คิดพฤติกรรมบูรณาการหลักอิสลาม เพื่อพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกในเด็กกำพร้า

Main Article Content

อัสม้า จะปะเกีย
อริยา คูหา

บทคัดย่อ

                 การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของเด็กกำพร้าที่ได้เข้าร่วมกลุ่มจิตบำบัดการรู้คิดพฤติกรรมบูรณาการหลักอิสลาม 2) เปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของเด็กกำพร้าก่อน หลังการทดลองและระยะติดตามผล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กกำพร้าหญิง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มจิตบำบัดการรู้คิดพฤติกรรมบูรณาการหลักอิสลาม จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที และแบบประเมินทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีค่าความเชื่อมั่น .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Signed Rank test ผลการวิจัย พบว่า 1) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของเด็กกำพร้าที่เข้าร่วมกลุ่มจิตบำบัดการรู้คิดพฤติกรรมบูรณาการหลักอิสลามแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง 2) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของเด็กกำพร้าที่เข้าร่วมกลุ่มจิตบำบัดการรู้คิดพฤติกรรมบูรณาการหลักการอิสลามแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยระยะติดตามผลสูงกว่าระยะหลังการทดลอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกนวล กาญจนเพชร และ ชนิษฎา ชูสุข. (2558). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กกำพร้าที่ได้รับ ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(2), 64-81.

กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2561, พฤษภาคม). การออกแบบการวิจัย รูปแบบการวิจัยเชิงเชิงปริมาณ การกำหนดตัวอย่างและการวิเคราะห์ข้อมูล. โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 6 วันที่ 7-11 พฤษภาคม 2561, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

จัตวา ชุณหบุญญทิพย์. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งมั่นสู่เป้าหมายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยมีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวแปรคั่นกลาง: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 11, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย

ดวงมณี จงรักษ์. (2556). ทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตวิทยาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2556). ภาวะซึมเศร้า: การบำบัดและการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดพฤติกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า. (พิมพ์ครั้งที่2). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

นาบีลา ยุมยวง. (2560). ผลของการบำบัดโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมบนพื้นฐานหลักอิสลามต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์.

ปิยะฉัตร สมบูรณ์, กาญจนวัลย์ ปรีชาสุชาติ และ วัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน. (2564). การศึกษาผลการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 39 จังหวัดนราธิวาส. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(6), 122-138.

อริยา คูหา. (2562). คุณภาพความเป็นครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู สังกัดมหาวิทยาลัยรัฐบาลและมหาวิทยาลัยเอกชน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยาเขตปัตตานี.

Beck, J. S. (1995). Cognitive therapy: Basic and Beyond. New York: The Guiford Press.

Corey, G. (2012). Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. (9th ed.). Belmont, CA: Books/Cole.

Corey, G. (2012). Theory and Practice of Group Counseling. (8th ed.). Belmont, CA: Books/Cole, Cengage Learning.

Luthans. F., Youssef C.M. & Avolio B.J. (2007). Psychological Capital. New York: Oxford University Press.