การใช้ภาษาและรููปแบบการเขียนที่ปรากฏบนป้ายธุรกิจการค้าและบริการบริเวณถนนสีลม เขตบางรักกรุงเทพมหานคร: การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์ภาษา

Main Article Content

ขวัญฤทัย ชำนินอก
ดุจฉัตร จิตบรรจง

บทคัดย่อ

                บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาษาและรูปแบบการเขียนที่ปรากฏบนป้ายธุรกิจการค้าและบริการบริเวณถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากป้ายธุรกิจการค้าและบริการ จำนวน 490 ป้าย ผลการศึกษาการใช้ภาษา พบตัวอักษรจำนวน 10 ภาษา โดยพบตัวอักษรภาษาอังกฤษมากที่สุด รูปแบบของภาษา พบจำนวน 3 รูปแบบ โดยพบป้ายทวิภาษา (Bilingual sign) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.26 รองลงมาเป็นป้ายเอกภาษา (Monolingual sign) คิดเป็นร้อยละ 29.59 และพบน้อยที่สุดคือป้ายพหุภาษา (Multilingual sign)  คิดเป็นร้อยละ 17.14 ในด้านรูปแบบการเขียน พบจำนวน 4 รูปแบบ โดยพบป้ายที่เขียนทับศัพท์ข้อความบางข้อความ (Mixed sign) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.71 รองลงมาเป็นป้ายที่เขียนด้วยภาษาเดียว (Monophonic sign) คิดเป็นร้อยละ 29.59 ป้ายที่ภาษาบนป้ายเขียนทับศัพท์ข้อความเดียวกัน (Homophonic sign) คิดเป็นร้อยละ 23.47 และพบน้อยที่สุดคือป้ายที่เขียนด้วยหลายภาษาโดยแต่ละภาษาสื่อความหมายที่แตกต่างกัน (Polyphonic sign) คิดเป็นร้อยละ 11.22 จากผลการศึกษาสะท้อนว่า ความหลากหลายทางภาษาที่ใช้ในการสื่อสารบนป้ายธุรกิจการค้าและบริการบริเวณถนนสีลม โดยมีภาษาไทยและภาษาต่างประเทศทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ได้ทำให้เกิดสังคมพหุภาษาและพหุวัฒนธรรมภายในพื้นที่ได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนี้ การใช้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษบนป้ายดังกล่าวยังสะท้อนความเป็นเมือง ความเป็นสากล และความทันสมัยอันสื่อไปถึงการเป็นสังคมโลกาภิวัตน์ของพื้นที่ได้อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ทุนยักษ์เร่งพลิก "สีลม-พระราม4" ดัน "กรุงเทพฯ" สู่โกลบอลแลนด์มาร์ค. https://www.bangkokbiznews.com/business/966891.

จริยา เสียงเย็น. (2558). ภูมิทัศน์ทางภาษาจากป้ายโฆษณาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารพื้นถิ่น โขงชีมูล, 1(2), 13-36.

ถนอมจิตต์ สารอต และสราวุฒิ ไกรเสม. (2562). ความเป็นพหุภาษาในชุมชนเมือง : กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ภูมิทัศน์ทางภาษากับธุรกิจการค้าย่านนานาฝั่งเหนือ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 38(1), 24-40.

ปณิธาน โซ๊ะซู. (2559). ประวัติสีลม. https://urlshort.in/mGAtQ.

พิชัย แก้วบุตร และนพวรรณ เมืองแก้ว. (2563). ป้ายและชื่อธุรกิจการค้าในท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี: การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 225-253.

มูฮำหมัดสุกรี หะยีสะนิ และสมิทธ์ วงศ์วิวัฒน์. (2564). พหุภาษาในเมืองชายแดนใต้ กรณีศึกษาภูมิทัศน์ทางภาษากับธุรกิจการค้าในเขตอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 31. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สาลิกา. (2563). เปิดประวัติ ‘ถนนสีลม’ บันทึกความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย โดยสถาปนิกนักอนุรักษ์ ‘วทัญญู เทพหัตถี’. https://www.salika.co/2020/11/21/history-of-silom-road/

สิริณทร พิกุลทอง. (2554). ภาษาบนป้ายพาณิชย์ของสถานประกอบการย่านถนนพระอาทิตย์. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Siwina, P. and Prasithrathsint, A. (2020). Miltilingual Landscapes on Thailand's Borders. Journal of Mekong Societies, 16(1), 112-131