สถานภาพและพัฒนาการของแบบแผนความพิการที่่หนุนเสริมการฟื้นฟููสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน

Main Article Content

อาทิตยา ชมภูนิมิตร
มานะ นาคำ
น้อมจิตต์ นวลเนตร์

บทคัดย่อ

                แบบแผนความพิการเป็นแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการทำงานด้านคนพิการที่นำไปสู่การปฏิบัติต่อคนพิการ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพและพัฒนาการของแบบแผนความพิการที่มีส่วนสำคัญในการหนุนเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำงานเกี่ยวกับคนพิการ ได้แก่ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนชุมชน ตัวแทนภาคเอกชน เครือข่ายคนพิการและผู้ดูแล จำนวน 20 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าในชุมชนมีปรากฏการณ์ตามแบบแผนความพิการทั้ง 4 แบบแผน คือ แบบแผนการสงเคราะห์หรือการกุศล แบบแผนทางการแพทย์ แบบแผนทางสังคม และแบบแผนสิทธิพลเมือง มีสถานภาพของแบบแผนความพิการขึ้นอยู่กับมุมมองและบทบาทการทำงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน และมีพัฒนาการจากการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทำให้เกิดการปรับมุมมอง แก้ไขจุดด้อย และลดข้อขัดแย้งของแบบแผนความพิการโดยมีแนวทาง ดังนี้ 1) การดูแลที่ยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง 2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีมุมมองต่อความพิการอย่างเปิดกว้าง 3) การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทุกมิติ 4) มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการของคนพิการ ดังนั้น พัฒนาการของแบบแผนความพิการจึงมีส่วนที่ช่วยหนุนเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2563). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. https://www.dep.go.th/th/law-academic/knowledge-base/disabled-person-situation/สถานการณ์คนพิการ-31-ธันวาคม-2563-รายไตรมาส

มยุรี ผิวสุวรรณ, ดารณี สุวพันธ์, วิไลภรณ์ โคตรบึงแก, Motsch, H. K., McGlade, B., & ปิยมาส อุมัษเฐียร. (2556). CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย (community based rehabilitation). พรีเมี่ยม เอ็กซ์เพรส.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2550). พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. http://www.srisangwankhonkaen.ac.th/swkk/sites/default/files/ files/book/FILE0000120001.pdf

รัชนี สรรเสริญ, เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ, วรรณรัตน์ ลาวัง, ยุวดี รอดจากภัย, รจนา ปุณโณทก, & ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส. (2553). การบูรณาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในสถานบริการปฐมภูมิ: บทเรียนรู้จากประเทศไทย. การพยาบาลและการศึกษา, 3(2), 99–113.

อนัญญา เจียนรัมย์. (2557). ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25(1), 63-70.

Degener, T. (2017). A new human rights model of disability. In V. Della Fina, R. Cera, & G. Palmisano (eds.), The United Nations convention on the rights of persons with disabilities: A commentary (pp.41-60). Springer Nature.

Edmonds, L. (2005). Disabled people and development. Poverty and social development papers No. 12/June 2005. Asian development bank.

Gilson, S. F., & Depoy, E. (2000). Multiculturalism and disability: A critical perspective. Disability and Society, 15(2), 207–218.

Jenkins, S. P., & Rigg, J. A. (2004). Disability and disadvantage: Selection, onset, and duration effects. Journal of Social Policy, 33(3), 479–501.

Laskar, A. R., Gupta, V. K., Kumar, D., Sharma, N., & Singh, M. M. (2010). Psychosocial effect and economic burden on parents of children with locomotor disability. Indian Journal of Pediatrics, 77(5), 529–533.

Oliver, M. (1990). The new politics of disablement: The contribution of Mike Oliver. https://socialistproject.ca/2019/03/new-politics-of-disablement-contribution-of-mike-oliver.

Rerief, M., & Letsosa, R. (2018). Models of disability: A brief overview. Theological Studies, 74(1), 1–8.

Smart, J. F. (2009). The power of models of disability. Journal of Rehabilitation, 75(2), 3–11.

Thomas, M., & Thomas, M. J. (2003). Manual for CBR planners. National Printing Press.

World Health Organization. (2010). Community-based rehabilitation: CBR guidelines. WHO Press.World Health Organization. (2016). Framework on integrated, people centered health service. http://apps.who.int/gb/ebwha/pdf _files/ WHA69/A69_39-en.pdf?ua=1