เกลือ ปลา นาข้าว กับความขัดแย้งการทำเหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

นวภัทร โตสุวรรณ์
วีีระ หวังสัจจะโชค

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและปัญหาการระดมทรัพยากรของการรวมกลุ่ม รูปแบบ พลวัตของยุทธวิธีการต่อสู้ และตอบโต้ต่อภาครัฐมุมมอง ที่มีต่อวิธีการหรือการหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นในการต่อต้านการทำ เหมืองแร่ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ภายใต้กรอบแนวคิดความขัดแย้งเชิงนิเวศวิทยาการเมือง โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่กลุ่มเป้า 24 คน ที่อาศัยรอบบริเวณโครงการเหมืองแร่ฯและวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้การบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการจัดระดมทรัพยากรเป็นการสร้างเครือข่าย โดยการอาศัยเริ่มต้นจากระดับของครอบครัว แล้วค่อยๆ ยกระดับเป็นชุมชน ตำบล และหลายๆ ตำบลรวมกัน ซึ่งมีลักษณะการจัดตั้งกลุ่มแบบเป็นทางการ มีโครงสร้างองค์กรอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม มีการสร้างกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ ด้วยปัญหาของการจัดการทรัพยากร การระดมทรัพยากรในการดำ เนินกิจกรรมของกลุ่มนั้น เป็นการเกิดจากความรู้สึกโดยรวมของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี ที่รับรู้ถึง “ความไม่เป็นธรรม” ทำ ให้มีรูปแบบ พลวัตของยุทธวิธีการต่อสู้ และตอบโต้ต่อภาครัฐ ที่ใช้คือการท้าทายในระบบการเมืองปกติ เช่น การยื่นหนังสือต่อหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องและการขัดขวางระบบปกติ เช่น การใช้อารยะขัดขืน หรือการดื้อแพ่ง ตลอดจนใช้วิธีการประท้วง และสุดท้ายเมื่อการเคลื่อนไหวในรูปแบบอื่นๆ ไม่เป็นไปตามเป้ายหมายของกลุ่มจึงเกิดการเริ่มใช้ความรุนแรงผลกระทบที่จะตามมาทั้งด้านของความเสียหายต่อทรัพย์สินและร่างกาย สุดท้ายมุมมองของกลุ่มที่มีต่อการหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ภาครัฐต้องคำ นึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จากโครงการของภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และวิถีของชุมชน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2554). ‘แร่’ ทรัพย์ในดิน...สินใต้ถุนบ้าน? Mineral Mining Bonanza or Bust. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรีนนิวส์. (2565). กลุ่มอนุรักษ์อุดรแถลงกรณีเหมืองโพแตชอุดร “เมื่อไม่ฟังเหตุผลกัน มึงสร้างกูเผา”.https://greennews.agency/?p=29467

จักรพันธ์ สุทธิรัตน์. (2558). เหมืองสีเขียวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เอสทีซี มีเดีย แอนด์ มาเก็ตติ้ง.

ฐากูร สรวงศ์สิริและมณีมัย ทองอยู่. (2553). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมคัดค้านเหมืองแร่โพแทชจังหวัด อุดรธานี. KKU Research Journal (Graduate

Studies),10(4), 137.

เดชา คำ เป้าเมือง. (2548). จากดินเอียดสู่เหมืองโปแตช กับแนวนโยบายเกลือแห่งชาติ.https://prachatai.com/journal/2005/08/21362

ทรงชัย ทองปาน. (2559). ยุทธวิธีในการเคลื่อนไหวทางสังคมของ “กลุ่มไม่เอาเขื่อนแก่งเสือเต้น”. PSDS Journal of Development Studies, 13(2), 46-82.

นักข่าวพลเมือง. (2565), อยู่ดีมีแฮง: 20 ปี เหมืองแร่โปแตชอุดรธานี เสียงชุมชนที่ (ไม่) ถูกได้ยิน”.https://thecitizen.plus/node/58046

นักข่าวพลเมือง. (2566), ยื่นฟ้องศาลปกครองอุดรธานี กระบวนการแห่งความหวังสู้เหมืองโปแตช.https://thecitizen.plus/node/76409

นพพล แก่งจำ ปา และธิติญา เหล่าอัน. (2561). การเมืองภาคประชาชน: กรณีศึกษา การเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่ทองคำ ของชาวบ้าน “กลุ่มรักษ์บ้านเกิด”

ตำบลเขาหลวง อำ เภอวังสะพุง

จังหวัดเลย. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 13(43), 86-97. ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมือง

แบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. มูลนิธิไฮน์ ริค เบิลล์ สานักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ปาณิสรา เทียนอ่อน, ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2558). การเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนในลุ่มแม่น้ำ แม่กลองในการต่อต้านนโยบายบริหารจัดการน้ำ ของรัฐบาล

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(4), 25-35.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2543). จาก “นิเวศเศรษฐศาสตร์ ” สู่ “นิเวศวิทยาการเมือง” (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัควดี วีระภาสพงษ์. (2550). direct action ปฏิบัติการซึ่งหน้าท้าทาย. ฟ้าเดียวกัน,5(1), 62 - 70.

มณีมัย ทองอยู่. (2557). แนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาด้วยขบวนการทางสังคม. ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์ลุ่ม น้ำ โขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณิศา จันทร์หอม. (2560). กระบวนการสร้างความเคลื่อนไหวในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ชายฝั่งทะเลของชาวประมง อำ เภอจะนะ จังหวัดสงขลา

[Doctoral dissertation, มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์]. วริยา ด้วงน้อย. (2562). นิเวศวิทยาการเมืองว่าด้วยความขัดแย้งและการต่อต้านการทำ เหมืองแร่ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

[วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

บูรพา]. มหาวิทยาลัยบูรพา. วิเชิด ทวีกุล. (2548). การเคลื่อนไหวของชาวบ้านใน พลวัต การเมืองแบบชาวบ้าน: เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ. วารสารฟ้า

เดียวกัน, 3(3), 42-45.

วิเชียร บุราณรักษ์. (2548). ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชน ศึกษากรณี: กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภีร์ สมอนา, มณีมัย ทองอยู่ และสมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2556). ขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่ทองคำ . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,

(1), 29-44.

โสดา นุราช. (2553). สิทธิในที่ดิน สิทธิในแร่, สัมปทาน. วารสารแร่อิเล็กทรอนิกส์. 1(2), 2.

Benford, D., Robert, S., & David, A. (2000). Framing processes and social movements: An overview and assessment: Reviewed work.

Annual Review of Sociology, 26, 611-639.

Christiansen, J. (2009). Four stages of social movements. https://www.ebscohost.com/uploads/imported/thisTopic-db Topic- 1248.pdf

Tilly,C. (1995). Popular contention in Great Britain, 1758-1834. Oxford University Press.