ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูและอุดรธานี

Main Article Content

กฤษฎา ณ หนองคาย
สุนิตย์ เหมนิล
พัชฎาภรณ์ แสงทามาตย์
มานน เซียวประจวบ

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการดำ เนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำ เนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำ นวน 8 แห่งในจังหวัดหนองบัวลำ ภูและอุดรธานีประกอบด้วยผู้บริหารหรือตัวแทนผู้บริหารที่ได้รับมอบหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 1คน หัวหน้าส่วนราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน ผู้นำ ชุมชน ตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน จำ นวน 2 คน จากทั้งหมด 8 แห่งๆ ละ 5 คน รวมเป็นจำ นวนทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือในการ เก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบตัวชี้วัดระดับการเป็นเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 3) แบบสรุปการสนทนากลุ่มและแบบสำ รวจความคิดเห็น ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการดำ เนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจำ นวน 8 แห่งอยู่ในระดับไม่เข้าข่ายจำนวน 1 แห่ง ระดับเข้าใจจำ นวน 6 แห่ง  และระดับเข้าถึง จำ นวน 1 แห่ง 2) ปัจจัยความสำ เร็จต่อการดำ เนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยแรกคือ การบริหารงานและวัฒนธรรมองค์กรแบบมีส่วนร่วม
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการบริหารงานที่ให้ความสำ คัญกับการมีส่วนร่วมโดยการสร้าง  เครือข่ายความร่วมมือ ทั้งบุคลากรในองค์กรและประชาชนในท้องถิ่น ปัจจัยที่สองคือ ภาวะผู้นำ ของ ผู้บริหารซึ่งมีวิสัยทัศน์ ยึดหลักธรรมาภิบาล ให้ความสำคัญ กับหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนาและมีความสามารถในบริหารงบประมาณ และปัจจัยที่สามคือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อเสริมสร้างพลังการพัฒนาที่เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยหนุนเสริมสำคัญที่ทำ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบความเร็จจากการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศินี ประทุมสุวรรณ, อุสา สุทธิสาคร, พีรพัฒน์ พันศิริ, กมลทิพย์ คงประเสริฐอมร และรัยวินทก์

วิทวัสกุลวงศ์. (2564). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาภาคกลางตะวันตก. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 13(1), 202-229.

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). วิญญูชน.

วรเดช จันทรศร. (2554). การน้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการภาครัฐ.วารสารปัญญาภิวัฒน์, 2(2), 1-18.

สถาพร เริงธรรม และอัญชนา แสงแก้ว. (2561). รายงานวิจัย การพัฒนาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำ บล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สำ นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สมบัติ บุญเลี้ยง, อารีย์ นัยพินิจ และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2555). ลักษณะภาวะของผู้นำ ที่ดีในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์, 29(2), 97-112.

อภิชัย พันธเสน. (2564). กรอบวิจัยกลาง “การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศไทย”. สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม.

อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง: พระอัจฉริยภาพ และพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยรังสิต.