ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูและอุดรธานี

Main Article Content

กฤษฎา ณ หนองคาย
สุนิตย์ เหมนิล
พัชฎาภรณ์ แสงทามาตย์
มานน เซียวประจวบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานและปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 8 แห่งในจังหวัดหนองบัวลำภูและอุดรธานี เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบตัวชี้วัดระดับการเป็นเศรษฐกิจพอเพียง แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสรุปการสนทนากลุ่มและแบบสำรวจความคิดเห็น


          ผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 8 แห่งอยู่ในระดับไม่เข้าข่าย จำนวน 1 แห่ง ระดับเข้าใจ จำนวน 6 แห่ง และระดับเข้าถึง จำนวน 1 แห่ง ส่วนปัจจัยความสำเร็จต่อการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 1) การบริหารงานและวัฒนธรรมองค์กรแบบมีส่วนร่วม โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการบริหารงานที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งบุคลากรในองค์กรและประชาชนในท้องถิ่น 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหารซึ่งมีวิสัยทัศน์ ยึดหลักธรรมาภิบาล ให้ความสำคัญกับหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนาและมีความสามารถในบริหารงบประมาณ 3) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอก เพื่อเสริมสร้างพลังการพัฒนาที่เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยหนุนเสริมสำคัญที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบความเร็จจากการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศินี ประทุมสุวรรณ, อุสา สุทธิสาคร, พีรพัฒน์ พันศิริ, กมลทิพย์ คงประเสริฐอมร และรัยวินทก์ วิทวัส กุลวงศ์. (2564). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่

ยั่งยืน: กรณีศึกษาภาคกลางตะวันตก. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 13(1): หน้า

-229.

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง (2558). การเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องถิ่นประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และ มนุษย์ศาสตร์, 41(1): หน้า 17-34.

ณธชกร ขาวเข้ม และชาติชาย โฆษะวิสุทธิ์. (2558). เครือข่าย: กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่น. วารสารการ

บริหารท้องถิ่น, 8(1): หน้า 61-67.

วรเดช จันทรศร. (2554). การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการภาครัฐ, วารสาร

ปัญญาภิวัฒน์, 2(2): หน้า 1-18.

สถาพร เริงธรรม และอัญชนา แสงแก้ว. (2561). รายงานวิจัย การพัฒนาการบริหารงานขององค์การบริหาร

ส่วนตำบล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สมบัติ บุญเลี้ยง, อารีย์ นัยพินิจ และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2555). ลักษณะภาวะของผู้นำที่ดีในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์, 29(2): หน้า 97-112.

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2564). กรอบวิจัยกลาง “การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศไทย”. กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม.

อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง: พระอัจฉริยภาพ และพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.