การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดการธุรกิจหมวกกะปิเยาะห์ ตำบลกะมิยอ จังหวัดปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การผลิตหมวกกะปิเยาะห์ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ชุมชนที่ช่วยสร้างรายได้จากการจำหน่ายในประเทศและจากการส่งออกต่างประเทศ แต่ปัจจุบันเกิด การแข่งขันด้านราคาอันเนื่องมาจากผู้ประกอบการไม่ทราบต้นทุนที่แท้จริงของการผลิต ส่งผลให้ ผู้ประกอบการบางรายต้องล้มเลิกการทำธุรกิจไป ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มีการนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาช่วยบริหารจัดการจึงทำให้ไม่มีการเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบของฐานข้อมูล ส่งผลกระทบต่อข้อมูลที่นำไปคำานวณต้นทุนในการผลิตสินค้า การกำหนดราคาสินค้า และการจัดทำบัญชี ทำาให้ได้ข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการธุรกิจหมวกกะปิเยาะห์ของผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลกะมิยอ จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อ ประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศ โดยในการพัฒนาระบบสารสนเทศได้ดำเนินการ ตามกระบวนการ SDLC (system development life cycle) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการกำหนดปัญหา และรวบรวมความต้องการ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ การนำไปใช้ และการบำรุงรักษา โดยนำา Bootstrap Framework มาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนา ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ประกอบการในทุกกระบวนการทำางานตั้งแต่ ต้นจนจบด้วยการบันทึกข้อมูลต่างๆ ไว้ในฐานข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลการซื้อวัตถุดิบ ข้อมูลการขาย สินค้า ข้อมูลการผลิต ข้อมูลคำนวณค่าแรง และข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ ผู้ประกอบการสามารถสืบค้น ข้อมูลโดยระบบสารสนเทศจะแสดงรายละเอียดผลลัพธ์ของข้อมูลดังกล่าวตามช่วงเวลาที่ต้องการ จาก การสำรวจความพึงพอใจของผู้ประกอบการในการใช้งานระบบสารสนเทศจำนวน 19 ราย มีความ พึงพอใจในด้านการออกแบบระบบสารสนเทศอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจในด้านการใช้งาน แต่ละเมนูของระบบสารสนเทศอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กรวิภา ขวัญเพ็ชร และคณะ. (2552). ศึกษาการบริหารจัดการส่งออกกะปิเยาะห์เพื่อจำหน่ายในประเทศซาอุดิอาระเบียของกลุ่มผู้ผลิตกะปิเยาะห์และเครื่องแต่งกายมุสลิมปัตตานี ตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. สำ นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำ หรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). หจก.สามลดา.
ทิพวัลย์ แสนคำ , สมศักดิ์ จีวัฒนา และนลินทิพย์ พิมพ์กลัด. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนปฏิบัติการของผู้บริหารในสังกัดเทศบาลตำบล
บ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 78-88.
วิยุดา เพชรจิรโชติกุล และกรสิริณัฐ โรจนวรรณ. (2564). การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(2), 282-302.
สุจิตรา อดุลย์เกษม และวรัฐา นพพรเจริญกุล. (2560). ระบบฐานข้อมูล. ท้อป.
อภินันท์ จันตะนีและประพันธ์ แสงทองดี. (2565). วัฒนธรรมองค์กรในยุคดิจิทัล. วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
(1), 52-62.
Kendall, K. E., & Kendall, J. E. (2018). Systems analysis and design (10th ed). Pearson.
Rosenblatt, H. J., Shelly, G. B., & Cashman, T., J. (2019). Systems analysis and design (12th ed).Cengage Learning.
Shneiderman, B., Plaisant C., Cohen, M., Jacobs, S., Elmqvist, N., & Diakopoulos, N., (2021). Designing the user interface: Strategies for
effective human-computer interaction (6th ed). Pearson.
Yamane, T. (1970). Statistic: An introductory analysis (2nd ed). Harper & Row.