การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน “HTS STEP MODEL” สู่การเป็น โรงเรียนคุณภาพโรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

นิรัญ เหลืองอร่าม

บทคัดย่อ

              งานวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการ ในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน “HTS STEP MODEL” สู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพโรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 3) เพื่อทดลองใช้และขยายผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน และ4)เพื่อประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำ พูน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับสภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนารูปแบบ แบบประเมินรูปแบบ แบบประเมินประสิทธิภาพ แบบวัดความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ และแบบประเมินการพัฒนารูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 
1) โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำ เภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีสภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพใน 3 ด้าน คือ ด้านคุณภาพของผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน “HTS STEP MODEL” สู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพโรงเรียนบ้านห้วยหละ อำ เภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ประกอบไปด้วยหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์แนวทางและวิธีปฏิบัติ ขั้นตอนการดำเนินงานของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบรูปแบบ พบว่า องค์ประกอบมีความสอดคล้องกันอยู่ในระดับมากที่สุดและผลการตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก
3) ผลการทดลองใช้และการขยายผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน“HTS STEP MODEL” สู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนบ้านห้วยหละอำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำ พูน พบว่าด้านโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษาด้านครูผู้สอน และด้านนักเรียนมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
4) การประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน “HTS STEP MODEL” พบว่าทั้งด้านบริบท ปัจจัยนำ เข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิวัตร นาคะเวช. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนในฝัน [ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำ การเปลี่ยนแปลง, มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเซีย].

ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). ผลของการใช้แบบฝึกความคิดนอกกรอบและการให้รางวัลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการคณะจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ=แนวคิดและแนวปฏิบัติ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การพัฒนารูปแบบบูรณาการความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา สำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 245.

โรงเรียนบ้านห้วยหละ. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำ เภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำ พูน. โรงเรียนบ้านห้วยหละ สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). สถิติประยุกต์สำ หรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). ทิศทางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาปีงบประมาณ 2558 - 2560 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกในพระบรม ราชูปถัมภ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สำ นักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล.ผลงานทางวิชาการด้านบริหารการศึกษา. สำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Brown & Moberg. (1980). Organization theory and management: A macro approach. Wiley.

Keeves, J.P. (1988). Educational research, methodology, and measurement: an internationalhandbook. Pergamon press.