การพัฒนาโปรแกรมการจัดการสารสนเทศนักเรียน (SIM) เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกู่ทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

Main Article Content

ชัดสกร พิกุลทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกู่ทองพิทยาคมสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการจัดการสารสนเทศนักเรียน (SIM) สำ หรับเสริมสร้างประสิทธิภาพระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกู่ทองพิทยาคมสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำ นวน
125 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยการจับสลากแบบไม่มีการ
ใส่คืน (sampling without replacement) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษายืนยัน องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกู่ทองพิทยาคม สังกัด
สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคามว่ามีความเที่ยงตรงเชิงทฤษฎีหรือความเที่ยงตรง
เชิงโครงสร้าง (construct validity) วิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลการวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ใน
โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analytic model) ได้แก่ ค่าไคสแควร์, ค่าไคสแควร์
สัมพัทธ์, ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำ ลังสองของการประมาณค่า) และวิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้การทดสอบของวิลคอกซัน (The Wilcoxon’s Matched Pairs Signed-Ranks Test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความตรงเชิงโครงสร้างและ
สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีที่ผ่านทุกค่า คือ Chi-Square = 127.784, df
= 155, p-value =.946, RMR =.133, GFI =.907, AGFI =.873, IFI = 1.008, TLI =.924, CFI = 1.000,
RMSEA = 0.000
2. การพัฒนาโปรแกรมการจัดการสารสนเทศนักเรียน (SIM) เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกู่ทองพิทยาคม สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
มหาสารคาม ก่อนและหลังการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยมีค่าเฉลี่ย
หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2552). รายงานการวิจัย เรื่อง ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ ดีการพิมพ์.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียน และโรงเรียนในศตวรรษ ที่ 21. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 17(4), 216-224.

Ackoff, R. L. (1999). Alternative types of planning. Ackoff’s Best: His Classic Writings on Management, Wiley, New York, 104-114.

Goleman, D. (2011). Intelligenza emotiva. Bur.

Guilford, J. P. (1970). Creativity: Retrospect and prospect. The Journal of Creative Behavior, 4(3), 149-168.

Haines, D. E., & Pollock, K. H. (1998). Estimating the number of active and successful bald eagle nests: an application of the dual frame method. Environmental and Ecological Statistics, 5(3), 245-256.

Lombardo, M. M., & Eichinger, R. W. (1996). ALL RIGHTS RESERVED.

Picciano, A.G. (2011). Educational Leadership and Planning for Technology (5th Ed). Columbus, OH: Pearson Education

Riggio, R. E., & Reichard, R. J. (2008). The emotional and social intelligences of effective

leadership: An emotional and social skill approach. Journal of managerial psychology.

Sánchez-Elvira Paniagua, A. & Simpson, O. (2018). Developing Student Support for Open and Distance Learning: The EMPOWER Project. Journal of Interactive Media in Education, 2018(1),. Retrieved September 20, 2022 from https://www.learntechlib.org/p/190981/.

Skager, R. (1978). Lifelong Education and Evaluation Practice, Hamburg. UNESCO Institute for Education and Pergamon Press.

Sheninger, E. C. (2014). Digital leadership : changing paradigms for changing times. United States of America: Corwin

Senge, P. M. (1990). (The art and practice of the learning organization Vol. 1). New York: Doubleday.