การจัดแหล่งเรียนรู้ภูมิสังคมภูมิวัฒนธรรมเพื่อการสอนสังคมศาสตร์

Main Article Content

จรีพร นาคสัมฤทธิ์
ปนัดดา ลาภเกิน
บุญธิดา ม่วงศรีเมืองดี
อารมย์ จันทะสอน
ปัญญา ไวยบุญญา
ศศิธร โคสุวรรณ
ประภัสสร ยอดสง่า

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพและปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดแหล่งเรียนรู้ภูมิสังคมภูมิวัฒนธรรมจากการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 2) เสนอแนวทางการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิสังคมภูมิวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนของชุมชน สอบถามและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 57 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดแหล่งเรียนรู้จากการมีส่วนร่วมของชุมชน เกิดจากการจัดการเข้าใช้แหล่งเรียนรู้ตามหลักสูตรของวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดตาก เนื้อหารายวิชาเป็นทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ การสอนเป็นแบบบูรณาการศาสตร์ หลักสูตรวางแผนจัดการเรียนการสอน งบประมาณสนับสนุนการเข้าพื้นที่แหล่งเรียนรู้ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดแหล่งเรียนรู้ จัดความรู้และร่วมกระบวนการเรียนรู้ มีการประเมินผลการเรียน และผลสะท้อนจากชุมชน คนในชุมชนร่วมทําากิจกรรมกับผู้สอนและผู้เรียน สําาหรับแนวทางการสอนสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย 1) กําาหนดความรู้ทักษะผู้เรียนใน Block Courses หรือชุดวิชา (Module) 2) ออกแบบจัดแหล่งเรียนรู้ชุมชน 3) วางแผนการสอนและเข้าศึกษาในแหล่งเรียนรู้ 4) จัดทําาโครงการสอนปฏิบัติการในพื้นที่ 5) จัดทําาสื่อการสอน 6) จัดกิจกรรมการสอน กระบวนการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนในแหล่งเรียนรู้ “ห้องปฏิบัติการภูมิสังคม” 7) ประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง ความพึงพอใจการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อการสอนภูมิสังคมภูมิวัฒนธรรมมีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับดี (= 4.10) ด้านหลักสูตรและด้านการมีส่วนร่วมมีมากที่สุด (= 4.13) รองลงมาคือ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ (= 4.08) และด้านการประเมินผลผู้เรียนหลังจากเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ (= 4.07)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2553). การพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พัชรี ทองเรือง ปัญญา เลิศไกร และกันตภน หนูทองแก้ว. (2560). รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(2), 192-205.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74.

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2560). องค์ความรู้ของชุมชนในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนบ้านเนินกลาง หมู่ 2 ตําบลเนินศาลา อําาเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 6(4), 26-37.

Anderson-Butcher, D. (2004). Transforming schools into 21st century community learning center. Children & Schools, 26(4), 248-252.

Collingsworth, J. (2005). 21st century community learning center program: A study to evaluate the success of a program in a rural county. The Faculty of the Department of Educational Leadership and Policy Analysis East Tennessee State University. Powered by TCPDF (www.tcpdf.org)