ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี จังหวัดบุรีรัมย์-สุรินทร์

Main Article Content

อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์
นิศานาถ แก้ววินัด
ธาริณี มีเจริญ
อำพล ชะโยมชัย

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว และนำ เสนอแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี จังหวัดบุรีรัมย์-สุรินทร์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในตำ บลที่มีพื้นที่ติดลุ่มน้ำชี พื้นที่ละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย ตรวจสอบคุณภาพข้อมูล แบบสามเส้า วิเคราะห์และการตีความใช้การวิเคราะห์แก่นความคิดโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัจจัยทางด้านต้นน้ำ ได้แก่ ด้านทรัพยากรและศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ด้านคุณลักษณะของแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ ค่านิยมและวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของชุมชน และประสบการณ์และการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการท่องเที่ยว ปัจจัยทางด้านกลางน้ำ ได้แก่ ที่พักอาศัย การเดินทางเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การนำ เที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยว และอาหารและงานฝีมือท้องถิ่น ปัจจัยทางด้านปลายน้ำ ได้แก่ ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว คุณค่าที่รับรู้จากการให้บริการ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และการกลับมาเที่ยวซ้ำ และการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้แก่ การรักษาวัฒนธรรมของชุมชน คุณภาพชีวิตของชุมชน และการรักษาสภาพแวดล้อม และ2) แนวทางการพัฒนา คือ ยกระดับปัจจัยทางด้านต้นน้ำ ของการท่องเที่ยว พัฒนาปัจจัยทางด้านกลางน้ำ ของการท่องเที่ยว ส่งเสริมการตลาดเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และผลักดันให้แหล่งท่องเที่ยวเกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 5 การท่องเที่ยว.http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2022/03/11_NS-05_070365.pdf

จิตศักดิ์ พุฒจร. (2564). แนวทางพัฒนาการตลาดสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นของประเทศไทย. https://researchcafe.org/local-experience/

จีรนันท์ เขิมขันธ์, ปัญญา หมั่นเก็บ และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. (2561). การจัดการโซ่อุปทานสำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดระยอง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(3), 98-110

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด, อังสุมาลิน จำ นงชอบ และณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในพื้นที่อำ เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 10(2), 156-187.

นาตยา เกตุสมบูรณ์และ วันทนา เนาว์วัน. (2562). ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยว หมู่บ้านหนองสรวง ตำ บลกระแซง อำ เภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ

รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 25(1), 81-93.

นิมิต ซุ้นสั้น และศศิวิมล สุขบท. (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวความผูกพันกับสถานที่ ความพึงพอใจโดยรวม และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกในจังหวัดภูเก็ต. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(1), 68-83.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2549). การออกแบบการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มนทิรา สังข์ทอง, ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร และวิชัย แหวนเพชร. (2563). รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(2), 17-35.

สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์. (2563). เกี่ยวกับจังหวัดสุรินทร์. http://www.surin.doae.go.th/?p=691

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 - 2570. https://www.ldd.go.th/App_Storage/navigation/files/23_0.pdf

สุปรียา สืบสุนทร และนิสากร คุณวงศ์. (2561). การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานความยั่งยืน.วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 20(2), 269-287.

อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ และคณะ. (2564). การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยสมุนไพรในพื้นที่ลุ่มน้ำ ชี จังหวัดบุรีรัมย์-สุรินทร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2552). การวิเคราะห์และนำ เสนอผลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. http://www.edu.tsu.

ac.th/major/eva/files/journal/DataAnalysis.pdf

Creswell, J.W. (2008). Research design, quantitative, and mixed methods approaches (3rd

edition). Sage Publications.

Pencarelli, T. & Forlani, F. (2016). Marketing of touristic districts-viable systems in the experience economy. Sinergie Italian Journal of Management, 34(101), 199-238.

Tapper, R. & Font, X. (2004). Tourism supply chains: Report of a desk research project for the travel foundation. Leeds Metropolitan University, Environment Business & Development Group.