การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการชุมชนและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้นำ ชุมชน คณะกรรมการและตัวแทนสมาชิกที่อยู่ในชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ หน่วยงานราชการและเอกชนจำนวน 185 คน ใช้แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการค้นหาศักยภาพ นำข้อมูล
รายละเอียดที่ได้มาสรุปและเสนอเป็นรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนที่สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมกับชุมชนของตำบลศรีเทพ ผลการศึกษาพบว่าชุมชนตำบลศรีเทพ มีการดำเนินโครงสร้าง การบริหารจัดการชุมชน ใน 2 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบโครงสร้าง การบริหารจัดการตามแบบของกระทรวงมหาดไทย
2. รูปแบบการแบ่งย่อยออกเป็นคุ้ม ประมาณ 8-9 คุ้ม ซึ่งรูปแบบนี้ มีประสิทธิภาพมาก ดูได้จากการพัฒนาด้านต่างๆ ของคุ้ม เช่นชุมชนมีระเบียบ สะอาด ปลอดภัย มีความร่วมมือสร้างกลุ่มพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ให้กับสมาชิกของชุมชน ส่วนการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพนั้น ผู้วิจัยเสนอรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนที่สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วม โดยการสร้างเป็นกลุ่มอาชีพขึ้น มีโครงสร้าง
การบริหารจัดการแบ่งอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ สมาชิกของชุมชนเป็นคณะกรรมการร่วม เป็นการสร้างกลุ่มขึ้นมาจากปัญหาและความต้องการของชุมชนโดยตรง มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาสนับสนุน
Article Details
References
กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. (2563). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิพันธ์ บุญหลวง. (2561). แนวทางการจัดการชุมชนต้นแบบบ้านทุ่งศรี จังหวัดแพร่. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
ผกามาศ บุตรสาลี แก้วมณี อุทิรัมย์ และอุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา. (2562). แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการสร้างเอกลักษณ์สินค้าเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง อย่างยั่งยืนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ ตำ บลท่าก้อน อำ เภออากาศอำ นวย จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 46-56.
ยศ บริสุทธิ์. (2558). การศึกษาชุมชน แนวคิดฐานการวิจัย และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภาพร ภู่ไพบูลย์. (2558). การจัดการชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโพธิ์ศรีอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สํานักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน (2554). คู่มือการประเมินความ “อยู่เย็นเป็นสุข". กระทรวงมหาดไทย.