ลำ นำ ล้านนา: ความทรงจำ และขนบวรรณศิลป์ของกวีนิพนธ์พื้นถิ่นร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายวิเคราะห์กวีนิพนธ์พื้นถิ่นร่วมสมัย เรื่อง ลำ นำ ล้านนา ผ่าน
กรอบแนวคิดความทรงจำ และขนบวรรณศิลป์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า เอื้อ มณีรัตน์ได้ประพันธ์
บทกลอนประกอบด้วย กลอนสุภาพ จำ นวน 731 บท และโคลงในบทปัจฉิมลิขิต จำ นวน 2 บท
ที่แสดงความทรงจำ และทรรศนะในเรื่องราวของ 8 จังหวัดภาคเหนือของไทย ทั้งในส่วนที่เป็น
ความทรงจำ ทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ ความทรงจำ ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความทรง
จำ ทางประวัติศาสตร์ ความทรงจำ ทางสังคมล้านนา และความทรงจำ กับอัตลักษณ์วัฒนธรรม
ล้านนา ด้านขนบวรรณศิลป์มีลักษณะเด่นทั้งในระดับคำ และระดับความ เน้นการใช้คำ และการ
ใช้ความที่เข้าใจง่าย สื่อความหมายชัดเจน และนิยมเล่นสัมผัสเพื่อให้เกิดความไพเราะ สละสลวย
ทั้งในด้านเสียงและความหมาย เหนือสิ่งอื่นใด กวีได้แสดงความจงรักภักดีและความซาบซึ้ง
ในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีออกมาเป็นบทกวีเพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต
และยกย่องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสำ คัญ
Article Details
References
กุลทรัพย์เกษแม่นกิจ และคุณหญิง. (2551). บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพชรเม็ดงามของวรรณคดีไทย.วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 33(1),
-157.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2531). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่6). ชวนพิมพ์.
กำ ชัย ทองหล่อ. (2537). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่9). อมรการพิมพ์.
ธเนศ เวศร์ภาดา. (2549). หอมโลกวรรณศิลป์. ปาเจรา.
นัทธนัย ประสานนาม. (2557). Memory in culture. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 21(2), 297-307.
นัทธนัย ประสานนาม. (2561). วรรณกรรมกับประวัติศาสตร์ในประเทศไทย จากมุมมองความทรงจำ
ศึกษา. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 40(1), 51-84.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ภาคฉันทลักษณ์. ราชบัณฑิตยสถาน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย. ราชบัณฑิตยสถาน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. นานมีบุ๊คส์พับบลิเคชั่น.
รื่นฤทัย สัจจพันธ์. (2526). ความรู้ทั่วไปทางภาษาไทย ตอนที่ 3 วรรณคดีไทย.สำ นักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคำ แหง.
สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2556). หวังสร้างศิลป์นฤมิต เพริศแพร้ว การสืบทอดขนบกับการสร้างสรรค์
วรรณศิลป์ในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่. คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร พลายเล็ก. (2541). นิราศสมัยรัตนโกสินทร์: การสืบทอดขนบวรรณศิลป์จากพระนิพนธ์เจ้าฟ้า
ธรรมาธิเบศร [วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
สำ นักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). “อัตลักษณ์” บทวิทยุรายการ รู้ รัก ภาษาไทย. https://shorturl.
asia/QErzg.
เอื้อ มณีรัตน์. (2541). ลำ นำล้านนา. สำ นักพิมพ์ขอนแก่น.
Tanabe, S. & Keyes, C. F. (2002). Cultural crisis and social memory modernity and identity in
Thailand and Laos. Routledge.