การพัฒนาโมเดลการวัดความสามารถของนักศึกษาครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิด ทีแพค มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

Main Article Content

วนิดา หอมจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดความสามารถของนักศึกษาครูด้านการ


บูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดทีแพค มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 3  2)เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดความสามารถของนักศึกษาครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดทีแพค มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่  3  3)เพื่อศึกษาระดับความสามารถของนักศึกษาครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดทีแพค มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน  560 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ จำนวน 35 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือโดยหาค่าความเที่ยงตรง อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธ์แอลฟาของคอนบาร์ค และ ทดสอบสมมุติฐานโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


         ผลการวิจัยพบว่า


  1. โมเดลการวัดความสามารถของนักศึกษาครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดทีแพค มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 7 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 35 ตัวแปร

  2. โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดทุกค่า ในการเชิงยืนยันอันดับ 3  พบว่า X2=14.377   df= 8   X2/df = 1.797     P-value = 0.072  RMSEA =0.038  CFI = 0.998  TLI = 0.996

            3. ผลการศึกษาระดับความสามารถของนักศึกษาครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดทีแพค มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ พบว่า ในภาพรวมทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). “ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0.” วารสารอิเล็กทรอนิกส์การ
เรียนรู้ ทางไกลเชิงนวัตกรรม 7, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 14-29.
นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์.(2555). ความรู้ในกรสอนจำเพาะเนื้อหาโดยใช้เทคโนโลยีวิชาชีพครูศึกษา Technological
Pedagogical and Content Knowledge (TPACK) in Teacher Education. วารสารสภาคณบดีคณะ
ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2555. (20-37).

นัฐพร เกียรติบัณฑิตกุล. (2556). “ผลของหลักสูตรผลิตครูที่มีต่อความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการ
สอนโดยมี การรับรู้ความสามารถแห่งตนและความรู้ตามกรอบทีแพคของนักศึกษาครูเป็น
ตัวแปรส่งผ่าน: โมเดล พหุตัวแปรส่งผ่าน.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธี
วิทยาการวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานครฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. 2562. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562.
(ราชกิจจานุเบกษา) เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง วันที่ 20 มีนาคม 2562.

วรงค์ศรี แสงบรรจง. (2555). “เครื่องมือและโมเดลการวัดทีแพค-เอสของนิสิตนักศึกษาครู: การพัฒนา
และวิเคราะห์เปรียบเทียบโมเดลแข่งขัน.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธี
วิทยาการวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช.(2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ : บริษัทตถาตาพับลิเคชั่น จํากัด.

Angeli, C., & Valanides, N. (2005). Preservice elementary teachers as information and communication
technology designers: An instructional systems design model based on an expanded view of
pedagogical content knowledge. Journal of Computer Assisted Learning, 21(4), 292-302.

Hsu, P. S. (2012). Examining the impact of educational technology courses on pre-service teacers’
development of technological pedagogical content knowledge. Teaching Education. 23(2) :
195 – 213.

Jang,S. J. (2010). Integrating the interactive whiteborard and peer coaching to develop the TPACK of
secondary science teachers. Computers & Education. 55(4) : 1744 – 1751.

Jessica, S., Pavlo D, A., J. Shane, R., and Mwarumba Mwavita (2013). Intrapersonal Factors
Affecting Technological Pedagogical Content Knowledge of Agricultural Education Teachers.
Journal of Agricultural Education, 54(3), 157 – 170.

Koehler, M. J., Mishra, P., & Yahya, K. (2007). Tracing the development of teacher knowledge in a
designseminar: Integrating content, pedagogy and technology. Computers and Education, 49,
740–762.

Koehler, M.J., & Mishra, P. (2009). What Is technological pedagogical content knowledge?
Contemporary Issues in Technology and Teacher Education (CITE), 9(1), 60-70.

Kramarski, B., & Michalsky, T. (2009). Investigating preservice teachers' professional growth in self-
regulated learning environments. Journal of Educational Psychology, 101(1), 161–175.

Matthew.J. and Other (2014). Handbook of Research on Educational Communications
and Technology. The Technological Pedagogical Content Knowledge Framework,
101-111.

Mishra, P., & Koehler,M.J.(2006). Technological Pedagogical Content Knowledge : A Framework for
Teacher Knowledge. Teachers College Record, 108(6), 1017-1054.

Niess, M. L., Ronau, R. N., Shafer, K. G., Driskell, S. O., Harper, S. R., Johnston, C., et al.
(2009). Mathematics teacher TPACK standards and development model. Contemporary Issues
in Technology and Teacher Education (CITE Journal), 9(1),4-24.

Sachau, L. & Ku, H.Y. (2012). Mathematics Instructors’ Experiences Stabilizing TPACK When Using
New Technologies in a Distance-Based Graduate Program. In P. Resta (Ed.), Proceedings of
Society for Information Technology & Teacher Education International Conference 2012
(pp. 841 – 843). Chesapeake, Va: AACE.

Warschauer, M., & Liaw, M. L. (2010). Emerging technologies in adult literacy and language
education. Washington, DC : National Institute for Literacy.