ผลกระทบของการจัดการผลิตภัณฑ์ที่มีต่อการเจริญเติบโตขององค์กรของธุรกิจอาหารเสริมในประเทศไทย

Main Article Content

วรรณชนก ขามช่วง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการจัดการผลิตภัณฑ์ที่มีต่อการเจริญเติบโตขององค์กรของธุรกิจอาหารเสริมในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายการตลาดธุรกิจอาหารเสริมในประเทศไทย จำนวน 154 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการผลิตภัณฑ์ ด้านการพัฒนาและทดสอบแนวความคิด ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด และด้านการทดสอบตลาด มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการเจริญเติบโตขององค์กร ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ผู้บริหารฝ่ายการตลาดธุรกิจอาหารเสริม ควรตระหนัก และให้ความสำคัญกับเกี่ยวกับ การจัดการผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะการจัดการผลิตภัณฑ์สะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะ คุณภาพของสินค้าหรือบริการ และก่อให้เกิดการเจริญเติบโตขององค์กรตามที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). บริการด้านงานทะเบียนธุรกิจ. ค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2562, จาก http://www.moc.go.th.
กิตติพันธุ์ ธนผลผดุงกุล และฉัฐวัฒน์ ลิมป์สุรพงษ์. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และ
ผลการดำเนิน: หลักฐานเชิงประจักษ์จากธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กฤษณะ ดาราเรือง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดวิสาหกิจชุมชนบ้าน
เขาแหลม จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100), 130–143.
ธนาคารไทยพาณิชย์. (2560). อาหารเสริม ตลาดที่กำลังปรับตัว, ค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563,จาก https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/SCB_Supplementary
นเรศร์ ศรีมณี อมรรัตน์ ศรีวาณัติ และรัฐพล สับสน. (2560). รูปแบบกลยุทธ์การตลาดธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(2), 75-89.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (5 th ed.). กรุงเทพฯ: สุริวิยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รณชัย ตันตระกูล. (2551). การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ซีเค แอนด์ เอส โฟโต้สตูดิโอ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). เกาะกระแสสินค้าสุขภาพ สร้างโอกาสธุรกิจ, ค้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563, จาก
https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/HealthyProduct.pdf
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2555). สถิติขั้นสูงสำหรบั การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สรายุธ กันหลง. (2555). การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม Cronbach's alpha. ค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.ipernity.com
Aaker, D. A. (1996). Measuring Brand Equity Across Products and Markets. California Management Review, 38(3).
Nadeem, M. ., Sadaf, H. J., & Mahvish, M. (2011). Determinants of new product development success : (developing & proposing a conceptual model. Institute of Interdisciplinary Business Research, 3(2), 976–988.
Thomson, D. G. (2009). Business Growth. New York: John Wiley & Sons. Inc.Vyas, V. (2009). Innovation and New Product Development by SMEs. Doctor Thesis .