Guidelines to promote pre-retirement preparation for human resources of the organization

Main Article Content

นิสรา ใจซื่อ

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุให้กับทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทาง
การส่งเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุให้กับทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ จากการสังเคราะห์แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุให้กับทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ พบว่า การเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุ เป็นความสำคัญอย่างหนึ่งของการวางแผนการดำเนินชีวิตของบุคคลให้มีคุณภาพ ผู้เขียน
นำเสนอว่าทรัพยากรมนุษย์ในองค์การควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุใน 9 ด้าน คือ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านสุขภาพกาย 3) ด้านจิตใจ 4) ด้านสังคม 5) ด้านอาชีพ
6) ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม 7) ด้านการใช้เวลาว่าง 8) ด้านเทคโนโลยี และ 9) ด้านชีวิต และควรมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอนโดยควรส่งเสริมให้บุคลากรขององค์การเกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของตนเอง แนวทางการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุให้กับทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ ควรเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรขององค์การตั้งแต่เริ่มต้นเข้ามาทำงาน จนกระทั่งเกษียณอายุการทำงาน ควรมีการจัดการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การมีโปรแกรมการวางแผนการเกษียณอายุ การอบรม การจัดให้มีที่ปรึกษาสำหรับบุคลากร การฝึกอบรมอาชีพเสริม การใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ การพิจารณาจ้างงานหลังเกษียณอายุ เป็นต้น ทั้งนี้หากองค์การให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุให้กับทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ บุคลากรจะมีขวัญกำลังใจที่ดี สร้างผลงานและส่งเสริมความก้าวหน้าให้กับองค์การต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. [ออนไลน์].
ม.ป.ป. แหล่งที่มา: http://www.dop.go.th/th/know/1/275
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). คู่มือหลักสูตร
การเตรียมความพร้อมบุคคลเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). เติมความรู้ เตรียมพร้อมก่อนสูงวัย.
กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
คณุตม์ ปิ่นทองคำ. (2559). การเตรียมความพร้อมเพื่อความมั่นคงในการดำเนินชีวิตหลังวัย
เกษียณอายุราชการ กรณีศึกษา ข้าราชการทหารเรือ สังกัดกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ.
(งานนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดาวิษา ศรีธัญรัตน์. (2562). ระบบงานทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ เพื่อการพัฒนาองค์การ.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นลินี ทิพย์วงศ์. (2558). คุณภาพชีวิตและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ
ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาธิต จินดากุล. (2559). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
การประปาส่วนภูมิภาคเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี:
มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ กระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). คู่มือ การจัดอบรมหลักสูตรเตรียมความ
พร้อมบุคลากรเข้าสู่วัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์
เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). [ออนไลน์]. ม.ป.ป. แหล่งที่มา: http://www.nesdb.go.th
/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue
อาชัญญา รัตนอุบล. (2559). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Harris Rebecca. (2017). Development of a Retirement Longevity Planning Pre-Retirement
Training Program. (Master’s thesis). Available from https://search.proquest.com
/pqdtglobal/results/DCE6D9C26897437BPQ/1?accountid=44522
Malayter, M. K. (2003). Preretirement Training and the Early Retiree (Doctoral dissertation).
Available from https://search.proquest.com/pqdtglobal/results
/2BA08CBCED7347ACPQ/1?accountid=44522
Margaret Foot and Caroline Hook. (1996). Introducing Human Resource Management.
New York: Longman Publishing.