บทความการศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาการหล่อเทียนพรรษา ผ่านลวดลายช่างโนนสูง ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาการหล่อเทียนพรรษา ผ่านลวดลายช่างโนนสูง ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิเคราะห์เพื่อศึกษากระบวนการ และกลวิธีในการหล่อเทียนพรรษา และศึกษาถ่ายทอดภูมิปัญญาการหล่อเทียนพรรษา ผ่านลวดลายช่างโนนสูง ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า การหล่อเทียนพรรษาผ่านลวดลายช่างโนนสูง ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็นกระบวนการในการหล่อต้นเทียนพรรษา เพื่อนำไปใช้ในการแกะต้นเทียนพรรษา โดยมีการพัฒนาบล็อกหล่อเทียนพรรษาจากไม้อัด มาเป็นเหล็กม้วนเพื่อให้มีความทนทานมากขึ้น และกระบวนการในการแกะต้นเทียนพรรษา มีการพัฒนาจากต้นเทียนพรรษาแบบติดพิมพ์ มาเป็นต้นเทียนพรรษาแบบแกะลวดลายซึ่งลวดลายที่ใช้เป็นลายช่างโนนสูงมีที่ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และมีรูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาการหล่อเทียนพรรษา ผ่านลวดลายช่างโนนสูง จากช่างใหญ่สู่ลูกศิษย์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบทอดการหล่อเทียนพรรษา ผ่านลวดลายช่างโนนสูงให้คงอยู่สืบต่อไป องค์ความรู้ในการถ่ายทอดประกอบไปด้วยองค์ความรู้เรื่องการหล่อเทียนพรรษา และองค์ความรู้เรื่องการแกะต้นเทียนพรรษา วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการหล่อเทียนพรรษา ผ่านลวดลายช่างโนนสูง ตำบลโนนสูง จังหวัดนครราชสีมาด้วยกัน 2 วิธี คือ การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และการลงทำมือด้วยตนเอง
Article Details
References
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ทรงพล ต่วนเทศ. (2555). การศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองของคนไทยเชื้อสายลาวครั่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท และอุทัยธานี. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.