การศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการพ้นสภาพและติดตามผลการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการพ้นสภาพและติดตามผลการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการแก้ไขป้องกันและแก้ไขปัญหาการพ้นสภาพของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ 2) ศึกษาแนวทางการติดตามผลการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความเสี่ยงต่อการพ้นสภาพในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 159 สถาบัน โดยกลุ่มประชากรตอบแบบสอบถาม จำนวน 99 สถาบัน คิดเป็นร้อยละ 62.26 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
- แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการพ้นสภาพของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ คือ มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อแนะนำ ให้คำปรึกษา และดูแลนิสิตนักศึกษา ทั้งนี้ ในอนาคตสถาบันอุดมศึกษาควรพัฒนาระบบกลไกอาจารย์ที่ปรึกษาให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
- แนวทางการติดตามผลการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความเสี่ยงต่อการพ้นสภาพในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ คือ มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและใช้ระบบสารสนเทศในการติดตามและดูแลนิสิตนักศึกษา ทั้งนี้ ในอนาคตสถาบันอุดมศึกษาควรพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในการติดตามผลการศึกษาและให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
Article Details
References
วลัญชพร ฆารไสว. (2560) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ในการลงทะเบียนเรียนและการพ้นสภาพของนิสิตที่มีความเสี่ยงต่อการพ้นสภาพการเป็นนิสิตในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สวัสดิ์ วิชระโภชน์. (2561) การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการพ้นสภาพการเป็นนิสิต ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม : กองทะเบียนและประมวลผล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สวัสดิ์ วิชระโภชน์. (2559) วิเคราะห์การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2553 - 2557 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม : กองทะเบียนและประมวลผล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561) “ประวัติสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา,” สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552) ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2553 - 2561). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สํานักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2553) มาตรฐานการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
Okagbare, Abel G. (2015) “The Perceptions of School Administrators and Educators Concerning Student Retention in Private for Profit Universities,” Dissertation Abstracts International. 77(02) : Abstract-A.
Meyer, Jasmin and Strauß, Susanne. (2019) “The Influence of Gender Composition in a Field of Study on Students’ Drop - out of Higher Education,” European Journal of Education. 54(3) : 443 – 456 ; September.