กลวิธีการดัดแปลงนวนิยาย “บ่วงเสน่หา” ของกันยามาสสู่บทละครโทรทัศน์ “เกมเสน่หา”
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของบทละครโทรทัศน์เรื่องเกมเสน่หาของคนปั้นฝัน
ในด้านเนื้อเรื่อง คือ เนื้อเรื่อง แก่นเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก บทสนทนา และในด้านศิลปะการแต่ง คือ กลวิธีการตั้งชื่อเรื่อง การเล่าเรื่อง และการดำเนินเรื่อง อีกทั้งศึกษากลวิธีการดัดแปลงนวนิยายบ่วงเสน่หาของกันยามาสสู่บทละครโทรทัศน์เกมเสน่หาของคนปั้นฝัน ผลการวิจัยพบว่า บทละครโทรทัศน์เกมเสน่หาของคนปั้นฝัน
มีองค์ประกอบครบถ้วนตามทฤษฎีโครงสร้างวรรณกรรม อีกทั้งกลวิธีการดำเนินเรื่องของคนปั้นฝันทำให้เรื่อง
มีความกระชับ สนุกสนาน น่าติดตาม มีการเพิ่มเนื้อหาบางส่วนทำให้ผู้ชมได้รับสาระความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ และมีการเพิ่มบทบาทตัวละครทำให้เนื้อเรื่องมีความเข้มข้น น่าสนใจ เหมาะสมสำหรับการแสดงมากยิ่งขึ้น
เมื่อวิเคราะห์กลวิธีการดัดแปลงจากนวนิยายของกันยามาสสู่บทละครโทรทัศน์เกมเสน่หาของคนปั้นฝัน พบว่า
มีกลวิธีการดัดแปลงเนื้อหาให้เหมาะสมกับการแสดงดังนี้ เนื้อหาที่คงไว้ เนื้อหาที่ปรับให้เหมาะสมกับการแสดง เนื้อหาที่เปลี่ยนแปลง เนื้อหาที่ตัดออกบางส่วน และเนื้อหาที่เพิ่มเติม นอกจากนี้คนปั้นฝันมีการเพิ่มตัวละคร
และเพิ่มบทบาทตัวละครขึ้นมาโดยยังคงวัตถุประสงค์และคุณค่าของบทประพันธ์ของกันยามาสไว้เช่นเดิมทุกประการ