การจัดการความขัดแย้งของพนักงานองค์กรในจังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งของพนักงานองค์กรในจังหวัดตรัง 2) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งของพนักงานองค์กรในจังหวัดตรัง 3) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการจัดการความขัดแย้งของพนักงานองค์กรในจังหวัดตรังจำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานซึ่งทำงานในองค์กรในจังหวัดตรัง จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติการแจกแจงแบบที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความขัดแย้งในองค์กรตามความเห็นของพนักงานองค์กรในจังหวัดตรัง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสาเหตุของความขัดแย้งของพนักงานองค์กรในจังหวัดตรัง คือ สาเหตุจากปัจจัยด้านองค์ประกอบส่วนบุคคล สาเหตุจากปัจจัยด้านสภาพองค์การ และสาเหตุจากปัจจัยด้านปฏิสัมพันธ์ในการทำงาน ตามลำดับ 2) วิธีการจัดการความขัดแย้งของพนักงานองค์กรในจังหวัดตรัง คือ วิธีการประนีประนอม วิธีการเผชิญหน้า วิธีการไกล่เกลี่ย วิธีการหลีกเลี่ยง และวิธีการบังคับ ตามลำดับ 3) จากการเปรียบเทียบวิธีการจัดการความขัดแย้งของพนักงานองค์กรในจังหวัดตรัง จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน
Article Details
References
กุศล ชุมมุง และคณะ (2561). วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกลุ่มกรุงเทพใต้.
วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
3(1) มกราคม-มิถุนายน. 34-45.
มัลลิกา บุนนาค (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรนิชา ปัญญาเวท (2553). การศึกษาการจัดการความขัดแย้งในโรงเรียนเอกชน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี
เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
รังสรรค์ เหมันต์. (2546). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีรนุช สุทธพันธ์ (2550). การบริหารความขัดแย้งในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงาน
เขตพื้นที่สมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา สถาบันราชภัฏราชนครินทร์.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2547). ความขัดแย้ง หลักการ และเครื่องมือแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 3 นนทบุรี : สถาบัน
พระปกเกล้า.
วรนารถ แสงมณี. (2544). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ระเบียงทองการพิมพ์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ความขัดแย้ง การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ.
ศรัญญา พชิราปภาพัชร และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2555). แนวทางการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา
ในอำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ภาคเหนือ. 3(5) กรกฎาคม-ธันวาคม 2556.
อุดมศักดิ์ มั่นทน (2559). สาเหตุและวิธีการจัดการกับความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
10(2) กรกฎาคม-ธันวาคม. 119-133.
อรุณ รักธรรม. (2538). ทฤษฎีองค์การ : ศึกษาเชิงมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์.
Howat, G. and M. London. (1980). Attributions of conflict management strategies in
supervisor-subordinate dyads. Journal of Applied Psychology. 65(1), 172-175.
Moore, G. A. (1996). Organization Type and Reported Conflict Styles. EDD Dissertation. Peabody College
for Teachers of Vanderbilt University.
Pneuman, R. W. & Bruehl. M. E. (1982). Managing Conflict. New Jersey: Prentice Hall.
Robbins, Stephen P. (2001). Organizational Behavior. (9th ed.). New Jersey: Prentice Hall.