การรับรู้หลักการเรียนและการสอนของนิสิตครู

Main Article Content

ฐิติวรดา พลเยี่ยม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาระดับการรับรู้หลักการเรียนและการสอนของนิสิตครู  ประชากร ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 3 ที่เรียนรายวิชาหลักการเรียนและการสอน  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวนทั้งหมด      350 คน ประกอบด้วย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 41 คน สาขาวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 71 คน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ      จำนวน 46 คน สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 44 คน สาขาวิชาสังคมศึกษา จำนวน 64 คน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 45 คน     และสาขาวิชาเทคโนโลยีศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 39 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 3 ที่เรียนรายวิชาหลักการเรียน   และการสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวนทั้งหมด 303 คน ประกอบด้วย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 36 คน สาขาวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 59 คน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 44 คน สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 40 คน สาขาวิชาสังคมศึกษา จำนวน 52 คน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 40 คน และสาขาวิชาเทคโนโลยีศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 32 คน  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่  แบบประเมินระดับการรับรู้หลักการเรียนและการสอนของนิสิตครู และแบบสัมภาษณ์นิสิต ซึ่งประกอบด้วยคำถาม จำนวน 6 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้หลักการเรียนและการสอนของนิสิตครู โดยภาพรวมนิสิตครูมีระดับ   การรับรู้อยู่ในระดับมากทุกสาขาวิชาโดยเรียงลำดับดังนี้  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาสังคมศึกษา และ สาขาวิชาเทคโนโลยีศึกษา             และคอมพิวเตอร์ศึกษา ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ต้องตา สมใจเพ็ง และคณะ (2559). การรับรู้ด้านความรู้และความสามารถในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะโดยใช้ เทคโนโลยี (TPACK) ของนิสิตฝึกวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31 (1), 64-73.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นลินี พานสายตา. (2555). การรับร้ภาพลักษณ์ คุณภาพบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอน ของนักศึกษาที" มีต่อ
สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ. วิทยานิพนธ์.ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : เดอะบุคส์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
Hanna, N. & Wozniak, R. (2001). Consumer behavior: An applied approach. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Ibrahim, R., Yusoff, R., & Mohamed, H. (2011, January). Students Perceptions of Using Educational Games to Learn Introductory Programming. Computer and Information Science.4(1), 205-216
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). ConsumerBbehavior (7th ed.). Upper Saddle River, N.J Prentice Hall.
Ugrag, M., Asiltürk, E. (2018, March). Perceptions of Science Teachers on Implementation of Seven Principles for Good Practice in Education by Chickering and Gamson in Courses. Journal of Education and Training Studies. 6(3), 170-183.