การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และพัฒนาแนวทางการบริหารสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1 การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 327 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 7 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่มและประเมินแนวทางการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 1 พบว่า ด้านเทคโนโลยี มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความสามารถในการบริหารตนเอง และด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตามลำดับ สำหรับการพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 1 ที่ได้พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) กลไกการดำเนินงาน 4) แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 4.1) ด้านความสามารถในการบริหารตนเอง 4.2) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน 4.3) ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 4.4) ด้านแบบแผนทางความคิด 4.5) ด้านการคิดเชิงระบบ 4.6) ด้านเทคโนโลยี และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของแนวทาง พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก