การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีสากล ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

พิชชาพร สมหวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีสากล ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) ศึกษาทักษะทางดนตรีสากลของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีสากลตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  
3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีสากลตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนน้ำพองพัฒนศึกษารัชมังคลาภิเษก อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีสากล ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน เท่ากับ 10.39 และ 16.76 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ผลการศึกษาทักษะดนตรีสากลของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีสากล ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ผู้วิจัยได้สังเกตและมีเกณฑ์การประเมินทักษะในขณะที่นักเรียนลงมือทำกิจกรรม พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาด้านทักษะอยู่ในระดับดี

  3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีสากล ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ พบว่า นักเรียนส่วนมากความคิดเห็นในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จิตติวิทย์ พิทักษ์. (2557). การออกแบบและพัฒนาชุดสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริม
พหุปัญญาทางด้านดนตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฉัตรชัย จิรลาภวิรุฬห์. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิชาดนตรีสากลโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์, มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิตย์.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษาหลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. ขอนแก่น :
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุกรี เจริญสุข. (2548). จะฟังดนตรีอย่างไรให้เพราะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : หอรัตนชัยการพิมพ์.