ศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนอ่างเก็บน้ำลำพอก จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

นัขนลิน อินทนุพัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษาศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชน   อ่างเก็บน้ำลำพอก จังหวัดสุรินทร์ มุ่งเน้นศึกษาศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนและการศึกษาองค์ประกอบของการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอ่างเก็บน้ำลำพอก ผลการศึกษาระดับคุณภาพการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอ่างเก็บน้ำลำพอก เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวในด้านธรรมชาติและด้านศิลปวัฒนธรรมและวิถีชุมชน รวมทั้งด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานภาครัฐ พบว่ามีระดับคุณภาพสูง ซึ่งมีความพร้อมที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน แต่องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงชุมชนด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว พบว่า ด้านที่พักและรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอยู่ในระดับไม่มีคุณภาพ เมื่อพิจารณาด้านบุคลากร พบว่า บุคลากรและประชาชนทั่วไปในชุมชนอ่างเก็บน้ำลำพอกยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และผลการศึกษาองค์ประกอบสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอ่างเก็บน้ำลำพอก เมื่อพิจารณาการเข้าถึงสิ่งดึงดูดใจ สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และ กิจกรรมการท่องเที่ยว พบว่า อ่างเก็บน้ำลำพอกมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาสู่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ ภายใต้องค์ประกอบดังนี้ 1) ลักษณะเฉพาะของชุมชน 2) กลุ่มเครือข่ายความร่วมมือ 3) การเพิ่มขีดความสามารถการท่องเที่ยวชุมชน    4) การกำหนดแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการท่องเที่ยว และ 5) กระบวนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และ ศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร ปีที่ 32, ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2555) หน้า 139-146.

บุพชาติ ดวงดี. 2560. รูปแบบการพัฒนาการเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 36 ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม

วรรณวิมล ภู่นาค. (2558) ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน:กรณีศึกษาตลาดนํ้าอัมพวา. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2558

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561- 2565. https://secretary.mots.go.th. (21 พฤษภาคม).

อิทธิศักดิ์ นันทิเดชาพันธ์. (2562). อารยธรรมลำพอก วิถีชีวิตคนศีขรภูมิ. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสุรินทร์. http://thainews.prd.go.th/th/website_/news/ print_news/WNSOC6011210010049. (25 พฤษภาคม).

Amadeus. (2016), Shaping the Future of Luxury Travel, retrieved October 24, 22016 from http://www.amadeus.com/documents/future-traveller-tribes-2030/luxury-travel/shaping-the-future-of-luxury-travel-report.pdf

Pisamai Jarujittipant. (2014). Potential for Ecotourism Development in Koh Samui Journal of Social Sciences. Srinakharinwirot University. Vol. 17 , pp. 131-150

Panyanuwat, A., et al. (2014) Assessing the cost of administering the designated areas for sustainable tourism. Bangkok: Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization).

Mangkhang, C., et al. (2016) A study project of the royal project’s knowledge transfer and capacity building for highland communities, Chiang Mai: Highland Research and Development Institute (Public Organization).

Middleton, V., Fyall, A., Margan, M. & Ranchhod, A. (2009). Marketing in Travel and Tourism 4thed. Oxford, UK:Butterworth-Heinemann.

Watcharakiettisak, T. (2017) Community economic strengthening by developing community enterprise group at Tambon polsongkram administration organization, Nonsung district, Nakhornratchasima province. Journal of Business Administration, The Association of Private Higher Education Institution of Thailand, vol. 5, no. 1, pp. 43-54.

World Tourism Orgainzation. (2011). Quality in Tourism. E-Bullentin, February 2011.

World Travel & Tourism Council (2017), Travel & Tourism Economic Impact 2017 Thailand.

Wurzburger,R., Aagesen,T., Pattakos,A., & Pratt,S. (2009). Creative Tourism: A Global Conversation: How to Provide Unique Creative Experiences for Travelers Worldwide. Paper Presented at the 2008 Santa Fe &UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe, New Mexico, USA.

Ximba, E. Z. (2009). Cultural and heritage tourism development and promotion in the Ndwedwe municipal area: perceived policy and practice (Master dissertation, University of Zululand). Retrieved September 15, 2012, from http://uzspace.uzulu.ac. za/xmlui/bitstream/handle/10530/419/Cultural%20 and%20heritage%20tourism.pdf?sequense=1

Zapata, Maria Jose, Michael C. Hall, Patricia Lindo & Mieke Vandershaeghe. (2011). Can Community-Based Tourism Contribute to Development and Poverty Alleviation? Lesson from Nicaragua. Current Issue in Tourism. 14(8), 725-749.