ปัญหาทางกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ของไทยภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

teerasak kongsombut

บทคัดย่อ

         เมื่อประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียน อันส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจหรือกฎหมาย โดยเฉพาะด้านกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวกับการระงับข้อขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ตลอดจนวิธีการจัดตั้งองค์การนายจ้างและลูกจ้าง ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักของกฎหมายฉบับดังกล่าว คือ เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสังคมแรงงาน โดยประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาคือ เมื่อประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือ การอพยพของแรงงานซึ่งนับวันจะยิ่งเพิ่มขึ้นมากเป็นเงาตามตัวเนื่องจากการพัฒนาการของการสื่อสาร ภาคการผลิต อุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมากโดยที่แรงงานที่มีอยู่ภายในประเทศเกิดความขาดแคลน


         ตัวอย่างที่เป็นต้นแบบให้ประชามคมอาเซียนใช้เป็นแม่แบบได้เป็นอย่างดีในการกำหนดกฎหมาย ข้อบังคับ ตลอดจนการจัดตั้ง รูปแบบขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดีคือการรวมตัวกันของสหภาพยุโรป ซึ่งผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลถึงความเป็นมา องค์ประกอบ การเตรียมงานของสหภาพยุโรปเมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่อาเซียนสามารถนำเอาตัวอย่างดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นต้นแบบหรือใช้แก้ปัญหาที่อาจจะเกิดในอนาคตได้


จากการศึกษากฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กลับปรากฏว่า มิได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น  ในกรณีของการจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานที่กฎหมายกำหนดคุณสมบัติว่า จะต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เมื่อมีการอพยพทางด้านแรงงานภายในสถานประกอบการแต่ละแห่งย่อมมีลูกจ้างมากกว่าหนึ่งสัญชาติ  การกำหนดให้มีตัวแทนฝ่ายลูกจ้างที่จำกัดเฉพาะสัญชาติไทย ย่อมมิอาจอำนวยความเป็นธรรมและทำให้เกิดความสงบสุขในสังคมแรงงานได้อย่างแท้จริง


           


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนาท เรืองจิตรปกรณ์.(2535).แรงงานสัมพันธ์และการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรม.พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ : บริษัทประชาชน จำกัด .หน้า 66-67.
สมศักดิ์ คุณเลิศกิจ,พงศธร นิ่มมานพ,ชัยรัตน์ ศักดิ์ โกศล,สมเดช เอี่ยมวิเชียรเจริญ,ภมร อนันตชัย,วฤตดา ทิพย์พิมานชัย,สุนาฎ หาญเพียรพงศ์,สาวิตรี ศรีบุญเรือง.”กฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นองค์การและการเจรจาต่อรองร่วมตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98.วารสารกฎหมายเปรียบเทียบศาลยุติธรรม.ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 พ.ศ.2554
ศาสตราจารย์ เกษมสันต์ วิลาวรรณ.(2546) คำอธิบายกฎหมายแรงงาน.บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด. หน้า 173
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.(2526).”ข้อมูลพื้นฐานกลไกสิทธิมนุษยชนในระบบสหประชาชาติ.หน้า 2-3
สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.(2540).เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.หน้า 57
Laurence H. Eldredge, “The Law of Defamation”. The Bobbs – Merrill Company Inc.
Publishers.
https://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/udhr-th-en.pdf
https://treaties.un.org/doc/publication/unts/volume%20999/volume-999-i-14668-english.pdf
PWESCR (Program on Women’s Economic, Social and Cultural Rights).HUMAN RIGHTS FOR ALL International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights A Handbook. August 2015.
Wolman, Benjamin B. (1973). Dictionary of Behavior Science. London: Litton Education Publishing Inc.