ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • กนกรัชต์ สุดลาภา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ณฤดี ชลชาติบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ศักยภาพ, ความมีชีวิตชีวา, ผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง ประชากรได้แก่ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 41 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1.โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาระยะเวลาทดลอง 12 สัปดาห์ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่1 ให้ความรู้เรื่องเปลี่ยนแปลงในวัยผู้สูงอายุด้านต่างๆ  กิจกรรมที่ 2 ด้านสุขสบาย กิจกรรมที่ 3 ด้านสุขสนุก กิจกรรมที่ 4 ด้านสุขสง่า กิจกรรมที่ 5 ด้านสุขสว่าง และกิจกรรมที่ 6 ด้านสุขสงบ 2.แบบประเมินความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยข้อคำถามจำนวน 25 ข้อ ประกอบด้วยคำถาม 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ ด้านสังคมและด้านความมั่นคง แบบประเมินก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังสิ้นสุดโปรแกรมคะแนน และ 3.แบบบันทึกความสุขรายบุคคล วิเคราะห์ด้วยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

            ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความมีชีวิตชีวาของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติทดสอบ Paired t-test หลังเข้าโปรแกรมผู้สูงอายุความมีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้นโดยค่าผลการทดสอบมีค่าคะแนนที่ 80.37 (M=80.37, SD=3.21) มากกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมซึ่งมีค่าคะแนนที่ 66.12 (M=66.12, SD=3.87) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -17.66, p<.001) 2. ผลการประเมินคะแนนภาพรวมแบ่งระดับความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ พบว่าหลังเข้าโปรแกรมผลการประเมินระดับความมีชีวิตชีวาอยู่ระดับ 4 หมายถึงระดับมาก ซึ่งสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมประเมินอยู่ระดับ 3 หมายถึงระดับค่อนข้างมาก องค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย ได้แก่เกิดการเพิ่มศักยภาพผู้สูงอายุ การเพิ่มความมีชีวิตชีวาผู้สูงอายุ และการเพิ่มสัมพันธภาพในชุมชนทำให้เกิดสุขภาวะที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุ

References

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมสุขภาพจิต. (2565). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

จันทนา สารแสง. (2561). คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.

พินิจ ฟ้าอำนวยผล. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์ การวิจัยทบทวนตัวชี้วัดและระบบข้อมูลเพื่อติดตามประเมิน Active ageing สำหรับประเทศไทย ภายใต้แผนงานบริหารจัดการโครงการวิจัยท้าทายไทย กลุ่มเรื่อง Active and Productive ageing. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พูลศักดิ์ หอมสมบัติ และคณะ. (2565). โรงเรียนผู้สูงอายุ : การเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุในสังคมสูงวัย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 540-551.

มินตรา สาระรักษ์, ฐิติรัช งานฉมัง และ นันทยา กระสวยทอง. (2563). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร, 3(3), 304-310.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2563 /Public health statistics A.D. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

Cattan, M., White, M., Bond, J., & Learmouth, A. (2005). Preventing social isolation and loneliness among older people: A systematic review of health promotion interventions. Ageing & Society, 25(1), 41-67.

Chen, Y., & Feeley, T. H. (2014). Social support, social strain, loneliness, and Well being among older adults: An analysis of the Health and Retirement Study. Journal of Social and Personal Relationships, 31(2), 141-161.

Fratiglioni, L., Paillard-Borg, S., & Winblad, B. (2004). An active and socially integrated lifestyle in late life might protect against dementia. The Lancet Neurology, 3(6), 343-353.

Hawkley, L. C., & Cacioppo, J. T. (2010). Loneliness matters: A theoretical and empirical review of consequences and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 40(2), 218-227.

McAuley, E., Blissmer, B., Marquez, D. X., Jerome, G. J., Kramer, A. F., & Katula, J. (2000). Social relations, physical activity, and well-being in older adults. Preventive Medicine, 31(5), 608-617.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19

How to Cite

สุดลาภา ก., & ชลชาติบดี ณ. (2024). ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 137–149. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/283425