พุทธจิตวิทยานวัตกรรมเพื่อยกระดับใจของกลุ่มคนทำงานในชุมชน (อสม.)
คำสำคัญ:
การยกระดับใจ, พุทธจิตวิทยา, กลุ่มคนทำงานในชุมชน (อสม.), ชุดฝึกอบรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการยกระดับใจของกลุ่มคนทำงานในชุมชน (อสม.) 2. เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมพุทธจิตวิทยานวัตกรรมเพื่อยกระดับใจของกลุ่มคนทำงานในชุมชน (อสม.) 3. เพื่อนำเสนอผลการพัฒนาพุทธจิตวิทยานวัตกรรมเพื่อยกระดับใจของกลุ่มคนทำงานในชุมชน (อสม.) รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยใช้วิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกอบรม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.56-1.00 2) แบบวัด มีค่าความเที่ยง 0.95 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ คนวัยทำงานในชุมชน (อสม.) จำนวน 400 คน ที่มีประสบการณ์มากกว่า 2 ปี กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มทดลอง 60 คน จากการคำนวณด้วย G Power (effect size = 0.8, ค่าแอลฟ่า = 0.05) แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและทดลองกลุ่มละ 30 คน คัดเลือกโดยจับคู่รายบุคคลและสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มทดลองได้รับการอบรมด้วยชุดกิจกรรมพุทธจิตวิทยานวัตกรรม ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการอบรม
ผลการวิจัยพบว่า 1. อสม. มีการยกระดับใจโดยรวมในระดับปกติ ด้านความเข้มแข็งทางใจและความงอกงามทางจิตวิญญาณเชิงพุทธอยู่ในระดับสูง 2. ชุดฝึกอบรมพัฒนาจากการบูรณาการแนวคิดความเข้มแข็งทางใจ ความฉลาดทางจิตวิญญาณเชิงพุทธ หลักสติ เมตตาภาวนา โยนิโสมนสิการ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การรับรู้ปัญหา การสะท้อนความคิด การสร้างความรู้ใหม่ และการลงมือปฏิบัติ 3. กลุ่มทดลองมีผลการยกระดับใจหลังทดลองและติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และ 4. การสนทนากลุ่มพบว่า กลุ่มทดลองพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรม เนื่องจากช่วยให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นชัดเจนขึ้น มีแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนจนเกิดการยกระดับใจ
References
กรมสุขภาพจิต. (2024). ความสุขของคนไทยในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19. สืบค้น 23 ตุลาคม 2567, จาก https://kku.world/0az1m
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2024). การส่งเสริมสุขภาพจิตชุมขน : กิจกรรมและแนวทางการป้องกัน. วารสารสุขภาพจิตชุมชน, 22(1), 23-32.
จิรังกูร ณัฐรังสี และคณะ. (2023). สุขภาวะทางใจของอาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 29(2), 1-13.
ชนาธิป บุษราคัม, ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา และ ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2018). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาบูรณาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวัฒนธรรมองค์กรของผู้บริหารระดับต้นบริษัท บี อาร์เอฟ (ไทยแลนด์) จำกัด. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(1), 16-30.
ธัชธา ทวยจด และคณะ. (2022). ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดจันทบุรี. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 17(2), 42-55.
ภัทรพร เตชทวีฤทธิ์ และคณะ. (2019). ความฉลาดทางจิตวิญญาณในบริบทคนไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 25(2), 79-97.
ภาคภูมิ ธีรสันติกุล และ เกษม ละหีม. (2022). การพัฒนาการตระหนักรู้ตนเองของนักศึกษา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 12(3), 558-600.
Bandura, A. (1986). Social foundations thought and action: A social cognitive theory. Prentice Hall.
Costa, A. L., & Kallick, B. (2004). Assessment strategies for self-directed learning. Thousand Oaks, CA: Corwin.
Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children : Strengthening the human sprit. The Hague, Netherland : Bernard Van Leer Foundation.
Kocaman, G., Dicle, A., & Ugur, A. (2009). A longitudinal analysis of the self-directed learning readiness level of nursing students enrolled in a problem-based curriculum. Journal of Nursing Education, 48(5): 286-290.
Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning: A guideline for learners and teacher. Chicago, IL: Follet.
Lee, J.H. & Patel R.H. (2024). The Role of Resillience and Spiritual Intelligence in Social Work Volunteers. Journal of Social Service and Health, 23(3), 93-107.
Robitschek, C., Ashton, M. W., Spering, C. C., Geiger, N., Byers, D., Schotts, G. C., & Thoen, M. A. (2012). Development and psychometric evaluation of the Personal Growth Initiative Scale–II”. Journal of Counseling Psychology, 59(2), 274-287.
Robitschek, C., & Cook, S. W. (1999). The influence of personal growth initiative and coping styles on career exploration and vocational identity. Journal of Vocational Behavior, 54(1), 127-141.
Zohar, Danah;& Marshall, Ian. (2002). SQ: Connecting with our spiritual intelligence. New York. Bloomsbury.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.