การสร้างความสำเร็จในการขายอย่างมีพุทธจริยธรรม

ผู้แต่ง

  • สุชาดา ธนาวิบูลเศรษฐ นักวิชาการอิสระ, 559/148 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การขาย, จริยธรรม, หลักทิฎฐธัมมิกัตถะ, อิทธิบาท 4, หิริ, โอตตัปปะ

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะนำเสนอการสร้างความสำเร็จในการขายอย่างมีพุทธจริยธรรม เนื่องด้วยในปัจจุบันที่เศรษฐกิจเติบโตต่ำและธุรกิจมีการแข่งขันสูง ความสำเร็จในการขายมักถูกวัดด้วยตัวชี้วัดทางธุรกิจ เช่น ยอดขาย ส่วนแบ่งการตลาดและผลกำไร ซึ่งอาจทำให้มาตรฐานทางจริยธรรมถูกละเลย บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวทางในการสร้างความสำเร็จในการขายโดยใช้หลักพุทธศาสนา หลักจริยธรรม โดยอาศัยหลักหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ (หลักหัวใจเศรษฐี อุ อา กะ สะ) หลักอิทธิบาท 4 ทางแห่งความสำเร็จมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เมื่อพนักงานขายมีใจรักในงานขาย มีความเพียรพยายามอย่างมุ่งมั่น มีกัลยาณมิตรทีดี มีความเอาใจใส่ในงานและลูกค้า มีความคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรอง ปรับปรุงแผนงานขายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะประสบความสำเร็จในการทำงาน สามารถสร้างยอดขายได้ตามเป้าหมาย ได้รับรายได้ที่ดีและมีโอกาสเลื่อนตำแหน่ง นอกจากนี้ความสำเร็จในการขายจะยั่งยืนได้ หากพนักงานขายมีความซื่อสัตย์สุจริตและปฏิบัติตามหลักจริยธรรม การที่จะกำกับตัวเองให้มีสติตระหนักรู้ถึงจริยธรรม จึงควรมีการฝึกสมาธิเพื่อสร้างสติ (การมีสติรู้ตัว) มีหิริ (ความละอายใจในทางที่ผิด) และ โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อผลกระทบทางศีลธรรม) เพื่อให้ไม่หลงผิด ฉะนั้นการบูรณาการทั้งหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ หลักอิทธิบาท 4 เพื่อสร้างความสำเร็จ การมีสติและใช้หลักหิริโอตัปปะนี้ จะช่วยให้ผู้ขายสามารถรักษาความสำเร็จทางธุรกิจควบคู่ไปกับการรักษามาตรฐานจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม การขายอย่างมีพุทธจริยธรรมช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของลูกค้าและสามารถรักษาฐานลูกค้าให้องค์กรได้ดีและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ทั้งในด้านธุรกิจและสังคม อีกทั้งยังส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในจริยธรรมและการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด

References

คณะกรรมการกลุ่มผลิตคู่มือปฏิบัติงานสำหรับตัวแทนประกันชีวิต สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2558). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับตัวแทนประกันชีวิต หลักสูตรขอต่อใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.).

จารุวรรณ เมืองเจริญ, วิโรจน เจษฎาลักษณ และ จันทนา แสนสุข. (2565). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านความสามารถในการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(6), 2735-2748.

ญาณเดช ทองสิมา และ จีระภา เอมะสิทธิ์. (2523). การบริหารงานขาย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฏาว แสงวัณณ์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสติ การกำกับอารมณ์แบบปรับปลี่ยนความคิดการกำกับอารมณ์แบบเก็บกดและสุขภาวะทางจิต (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2567). จริยธรรมของพนักงาน EXIM. สืบค้น 28 สิงหาคม 2567, จาก https://www.exim.go.th/th/About-Exim-Thailand/Corporate-Governance/Employee-Ethics.aspx

ธานี กลิ่นเกษร. (2539). ผลของการฝึกอบรมทางพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาหิริ-โอตัปปะและทัศนคติต่อพุทธศาสนาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง. กรุงเทพฯ : วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2(1),109-117.

พระปลัดภัครวัฒน์ สีลเตโช. (2564). วิเคราะห์คุณสมบัติของพ่อค้าในเสรีววาณิชชาดก. วารสารเสฏฐวิทย์ปริทัศน์, 1(2), 13-26.

พระไพศาล วิสาโล.(2553). เป็นไทย เป็นพุทธและเป็นสุข. กรุงเทพฯ : เครือข่ายพุทธิกา.

พัชรา ตันติประภา. (2545). ภาวะที่นำสู่ปัญหาด้านจริยธรรมในการขายและความแตกต่างในการรับรู้ของนักศึกษานักวิชาการ พนักงานขายและผู้บริหารหน่วยงานขาย (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ภาคิน สีสุธรรม. (2561). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตํารวจสถานีตํารวจภูธรเมืองนนทบุรีตามหลักพุทธบูรณาการ. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 25(2), 49-64.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

“______”. (2559). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัตนา ชัยกัลยา และ ปริญ ลักษิตามาศ. (2558). จริยธรรมผู้แทนขายที่ส่งผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์กับลูกค้าอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(18), 49–59.

วิจัยกรุงศรี. (2567). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2567-2569. สืบค้น 24 สิงหาคม 2567, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2024-2026

วิชัย วนาพรรณ์. (2527). ระดับจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 12 ปีการศึกษา 2526 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

“_______”. (2564). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

“_______”. (2553). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: มูลนิธิบรรจงสนิทและสำนักสหปฏิบัติพร้อมทั้งคณะผู้ศรัทธา.

สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์หรือพรีม่า (PReMA). (2019). The content handbook for medical representative accreditation program (MRAP) (Version 2). กรุงเทพฯ : สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์.

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย. (2565). หลักจรรยาบรรณด้านการขายและการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย.

สาวิตรี ละครพล, ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์, ดุษฎี โยเหลา และ เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของพนักงานขาย สำหรับองค์การธุรกิจผลิตยาแผนปัจจุบันในประเทศไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 39-53.

Churchill, G. A., Ford, N. M., & Walker, O. C. (1997). Sales Force Management (5th edition). Chicago: Irwin McGraw-Hill.

Crosby, L. A., Evans, K. R., & Cowles, D. (1990). Relationship Quality in Services Selling: An Interpersonal Influence Perspective. Journal of Marketing, 54(3), 68–81.

DeTienne, K. B., Alessandri, A., Aleo, A., & Agle, B. R. (2022). Building Value through Sales Ethics. Journal of Creating Value, 8(1), 10–24.

Feruglio, S., Panasiti, M. S., Crescentini, C., Aglioti, S. M., & Ponsi, G. (2023). Training the Moral Self: An 8-Week Mindfulness Meditation Program Leads to Reduced Dishonest Behavior and Increased Regulation of Interoceptive Awareness. Mindfulness, 14(11), 2757–2779.

Geiman, S. K. (2023). Bright Guardians of the Way and the World: Penthos and Hiri-Ottappa. Buddhist–Christian Studies, 43(1), 127–137.

Jobber, D., & Lancaster, G. (2015). Selling And Sales Management (10Th Edition). London: Pearson education.

Jon Kabat-Zinn. (2021). Mindfulness meditation for everyday life. London: Piatkus Books.

Li, Y., Wei, L., Zeng, X., & Zhu, J. (2021). Mindfulness in ethical consumption: the mediating roles of connectedness to nature and self-control. International Marketing Review, 38(4), 756–779.

Lussier, B., Philp, M., Hartmann, N. N., & Wieland, H. (2021). Social anxiety and salesperson performance: The roles of mindful acceptance and perceived sales manager support. Journal of Business Research, 124, 112–125.

McClelland, David C. (1961). The Achieving Society. Princeton, N.J. :Van Nostrand.

Mulki, J. P., Jaramillo, J. F., & Locander, W. B. (2009). Critical Role of Leadership on Ethical Climate and Salesperson Behaviors. Journal of Business Ethics, 86(2), 125–141.

Steers, R. M. (1991). Introduction to organizational behavior (4th edition). New York: HarperCollins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ธนาวิบูลเศรษฐ ส. (2024). การสร้างความสำเร็จในการขายอย่างมีพุทธจริยธรรม. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 437–455. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281463