โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังตามหลักพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • ริญญารัตน์ วรจินตนาลักษณ์ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, การอยู่ตามลำพัง, พุทธจิตวิทยา

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา สาเหตุด้าน สุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง 2 เพื่อสร้างโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังตามหลักพุทธจิตวิทยา และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังตามหลักพุทธจิตวิทยา การวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) โดยใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการทดลองในรูปแบบ One Group Pre-test Post-test Design กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนทุ่งมหาเจริญ จำนวน 51 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 15 คน เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) รู้เท่าทัน 2) มุ่งมั่นปฏิบัติดี 3) ปรับท่าทีเป็นกิจวัตร 4) ปฏิบัติด้วยปัญญา 5) เป็นกัลยาณมิตร และ 6) พัฒนาจิตปล่อยวาง โดยมีการฝึกปฏิบัติครั้งละ 120 นาที ในระยะเวลา 2 วัน 1 คืน

            ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังก่อนฝึกปฏิบัติตามโปรแกรมเท่ากับ 42.33 คะแนน และหลังจากการฝึกปฏิบัติเพิ่มขึ้นเป็น 46.00 คะแนน ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การปรับท่าทีและการมองโลกในแง่ดี ส่งผลให้มีสุขภาพจิตและมีความสัมพันธ์ทางสังคมดีขึ้น

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2560). คู่มือผู้สูงอายุสุขภาพสูงวัย ดูแลได้ด้วยตัวเอง. กรุงเทพฯ: เพชรประกาย.

ฐิติชญา ฉลาดล้น, สุทธีพร มูลศาสตร์, และวรรณรัตน์ ลาวัง. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุคลังปัญญา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(2), 154-167.

ฐิติยา เนตรวงษ์ และ รัชฎาพร ธิราวรรณ. (2561). การใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

พระครูสิริพุทธิศาสตร์ (นพรักษ์ นาเมือง), ธานี สุวรรณประทีป และ วิโรจน์ คุ้มครอง. (2566). การเสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักวิปัสสนาภาวนา : กรณีศึกษาชุมชนวัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(5), 1196-1206.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2566). พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน. สืบค้น 25 ตุลาคม 2567, จาก https://www.watnyanaves.net/th/book-full-text/295

พระมหาเชาวฤทธิ์ นรินโท (ทรัพย์สวัสดิ์). (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4: กรณีศึกษาผู้สูงอายุบ้านห้วยหอย ตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พระมหาอำนวย มหาวีโร, ประพิศ โบราณมูล, อุทัย ภูคดหิน และ สุวนันท์ เฉลยพจน์. (2566). การใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 69-79.

วิมล บ้านพวน, จุฑาภัค เจนจิตร และ ร้อยเอกหญิง วัลภินันท์ สืบศักดิ์. (2563). การพัฒนาระบบแผนส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุรายบุคคลในชุมชน (Individual wellness plan). นนทบุรี: สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ศูนย์สุขภาพใจ โรงพยาบาลวิมุต. (2565). เข้าถึงโลกของผู้สูงอายุด้วยหัวใจ สร้างสุขภาพจิตอย่างไรให้เวิร์ก. สืบค้น 25 ตุลาคม 2567, จาก https://www.vimut.com/article/older-adults-mental-health

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22

How to Cite

วรจินตนาลักษณ์ ร. (2024). โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังตามหลักพุทธจิตวิทยา. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 299–309. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281418