รูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย

ผู้แต่ง

  • วิไล ถาวรสุวรรณ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, ผู้นำ, ภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุข, องค์กรธุรกิจเครือข่าย

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมและทฤษฎีจิตวิทยาในการส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย 2. เพื่อสังเคราะห์รูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย 3. เพื่อประเมินและนำเสนอรูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย การเก็บข้อมูลเริ่มจากการศึกษาเอกสารจากพระไตรปิฎก ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 คน การจัดสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ 12 คน และการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษ 9 คน เครื่องมือทุกชิ้นผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัย มีการประเมินรูปแบบครอบคลุม 4 ด้าน คือ ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Triangulation Technic, Logical Matrix Technic และ 6'C Technic

            ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. วิเคราะห์หลักธรรมและทฤษฎีจิตวิทยาในการส่งเสริมภาวะผู้นำ พบว่า มีการผสมผสานระหว่างหลักพุทธธรรมและทฤษฎีจิตวิทยา โดยหลักพุทธธรรมประกอบด้วยหลักไตรสิกขาและหลักพละ 5 ส่วนทฤษฎีจิตวิทยาประกอบด้วยทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์และแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก PERMA Model ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องและเหมาะสมกับการพัฒนาภาวะผู้นำในด้านคุณธรรม การสร้างสุขและการเป็นต้นแบบ เพื่อสร้างความเชื่อ แรงจูงใจ ความสุขในองค์กร ตลอดจนการพัฒนาธุรกิจเครือข่ายและระบบการสื่อสารในยุคดิจิทัล 2. การสังเคราะห์รูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำนำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย ได้บูรณาการศาสตร์ 3 ด้านเข้าด้วยกัน ได้แก่ พุทธธรรม จิตวิทยาและแนวคิดคุณสมบัติผู้นำสร้างสรรค์สุข จนเกิดเป็นโมเดล "พุทธจิตภาวะผู้นำสร้างสุข 2MCSV" ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ การใช้สติในการดำเนินชีวิตและธุรกิจ การเป็นผู้นำต้นแบบ การสร้างสรรค์สุขในองค์กร การสร้างความยั่งยืน และการเพิ่มคุณค่า โมเดลนี้มุ่งเน้นการพัฒนาผู้นำให้สามารถสร้างสุขภาวะองค์รวมที่ดีทั้ง 6 ด้าน ครอบคลุมทั้งสุขภายนอก สุขภายใน สุขในตนเอง สุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและสุขในการทำงาน เพื่อสร้างความเชื่อ แรงจูงใจและความสำเร็จในธุรกิจเครือข่ายอย่างยั่งยืน 3. การประเมินรูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านระบบการประเมินมาตรฐาน 4 มิติ คือ ความถูกต้องครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และความมีประโยชน์ ผลการประเมินพบว่ารูปแบบนี้ได้คะแนนระดับมากที่สุดในทุกด้าน จึงสรุปได้ว่ามีประสิทธิภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

References

จิรเมธ ขำสังข์. (2566). สมรรถนะผู้นำเชิงพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมความสุขในการทำงานของวิศวกรไทย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พระโกศล มณิรตนา (ญึม). (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภาคเหนือตอนล่าง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พระใบฎีกาธีรศักดิ์ สุธีโร (น้อยอ่อน). (2565). ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท โรงเรียนกระสังพิทยาคม ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีจังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พระมหาเถรานุวัตร. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัย, 12(2), 1-15.

พระมหาสิริ์ยส สิริยโส (ชาลีเปรี่ยม). (2564). รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของโรงเรียนการกุศลในพุทธศาสนา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พระราชมงคลวิเทศ (น้อม กาละสังข์). (2560). การเสริมสร้างพลังใจของชาวพุทธในสหรัฐอเมริกาตามหลักพละ 5: กรณีศึกษา วัดมงคลเทพมุนีม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2556). ภาวะผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

“________”. (2564). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ : สหธรรมมิก.

“________”. (2565). ภาวะผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

สมประวิณ มันประเสริฐ. (2565). มุมมองเศรษฐกิจปี 2022. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.scb.co.th/about-us/news/jun-2565

Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Peterson, C., & Seligman, M. E. P. (2004). Character strengths and virtues: A handbook and classification. New York: Oxford University Press.

Ross, D. (2022). Who Are We?. Retrieved November 15, 2024, from https://brandane.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22