รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชน
คำสำคัญ:
รูปแบบ, พุทธจิตวิทยา, การพัฒนาบุคลิกภาพ, ผู้นำ, องค์กร, ธุรกิจเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนตามแนวทางจิตวิทยาและพุทธศาสนา 2. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนตามแนวทางพุทธจิตวิทยา 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนด้วยพุทธจิตวิทยา การวิจัยนี้ดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อศึกษาและพัฒนาแบบจำลองพุทธจิตวิทยาสำหรับการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำในภาคธุรกิจเอกชน กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากเครื่องมือและวิธีการวิจัยหลากหลาย ได้แก่ 1. การวิจัยเอกสาร (Document Research) 2. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 3. การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำในองค์กรภาคธุรกิจเอกชนด้วยพุทธจิตวิทยา 4. การสนทนากลุ่ม (Focus Group) 5.การประชุมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Connoisseurship) เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้
ผลการวิจัยนำไปสู่การสร้างรูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนที่เรียกว่า " Buddhist Psychology Power Mindset Model” ใช้ชื่อย่อว่า “B2P2M + 5A” หรือ “พุทธจิตวิทยานุภาพวิสัย” " รูปแบบนี้มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่ 1. พลังสติแห่งพุทธจิตวิทยาวิสัย 2. บุคลิกภาพภายใน (จริต 6) 3. บุคลิกภาพภายนอก (DISC) 4. ชุดความคิด (Mindset) 5. ชุดทักษะ (Skillset) 6. ชุดเครื่องมือ (Toolset) 7. กระบวนการพัฒนา (Development Process) 8. มีความเป็นสัตบุรุษ ด้วยหลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 เมื่อกระบวนการพัฒนาผู้นำโดยบูรณาการองค์ประกอบทั้ง 7 ประการอย่างสมบูรณ์ จะส่งผลให้เกิดภาวะผู้นำที่มีลักษณะ "สัตบุรุษ" ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของผู้นำที่มีประสิทธิภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี โดย "รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชน" นี้ มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำทั้งภายในและภายนอก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจิตใจและพฤติกรรมของผู้นำ นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของผู้นำให้สามารถนำพาองค์กรและสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
References
ชิสา กันยาวิริยะ. (2563). ภาวะผู้นำตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(3), 57.
ชำนาญ วงรัศมีเดือน และคณะ. (2562). การจัดการพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวจริตในพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(3), 766-778.
ประเวช วะทาแก้ว. รูปแบบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร, 3(3), 94.
ป. อ. ปยุตฺโต (พระพรหมคุณาภรณ์). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
“_______”. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระศรศักดิ สงฺวโร. (2555). การวิเคราะห์จริต 6 กับการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
พระอุปติสสเถระ. (2551). วิมุตติมรรค (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม บริษัทเคล็ดไทย จำกัด.
วรธณัท ธัญญหาญ. (2556). อ่านและเข้าใจคนขั้นเทพ (Reading and Understanding People). กรุงเทพฯ : มายเบสท์บุคส์.
อนุสรณ์ จันทพันธ์ & บุญชัย โกศลธนากุล. (2557). จริต 6 ศาสตร์ในการอ่านใจคน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นท์ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
อุดมพร ชั้นไพบูลย์. (2012). การประยุกต์ใช้สัปปุริสธรรมในงานสังคมสงเคราะห์ ในการพัฒนาสังคมด้วยหลักธรรมทางพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมศึกษา.
DeGraffe, K. (2021). Executive coaching and leadership personality defects Coaching Leaders: Insights and Applications. J., London: Kogan Page.
Koutsioumpa, M. (2023). Personality Traits and Leadership Effectiveness in the Five-Factor Model, in Handbook of Leadership Personality Development, edited by John A. Smith, vol. 2, New York: Academic Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.