รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรแห่งนวัตกรรมการจัดการสมัยใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • อณัทร เบ็ญจวรโชติ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, สร้างเสริมสุข, องค์กร, นวัตกรรม, พุทธจิตวิทยา

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรแห่งนวัตกรรมการจัดการสมัยใหม่ 2. ศึกษากระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา 3. เสนอตัวแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรตามแนวพุทธจิตวิทยา การวิจัยเป็นแบบคุณภาพ ใช้สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 21 คน, สนทนากลุ่มย่อย 12 คน, และประชุมสัมมนากับผู้เชี่ยวชาญ 11 คน เพื่อรับรองรูปแบบที่เสนอและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ

            ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรมี 8 ประการ ได้แก่ วิสัยทัศน์ร่วม, ความสัมพันธ์เชิงบวก, การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ, การสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาวะ, การชื่นชมและรางวัล, การเป็นแบบอย่างที่ดี, การสร้างแรงบันดาลใจ, และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2. กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขตามแนวพุทธจิตวิทยาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาภาวะผู้นำจากภายใน, การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี, การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมสุขภาวะ, การนำเทคโนโลยีมาใช้, และการประยุกต์ใช้การเรียนรู้ออนไลน์ และ 3. รูปแบบ ANAT 25 Model ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะผู้นำสร้างเสริมสุข 4 ประการ 2) สุขภาวะในตัวบุคคลและในองค์กร และ 3) การใช้หลักพุทธธรรม (พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 และไตรสิกขา) และแนวคิดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ Bernard M. Bass ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่ให้มีระบบดิจิทัลที่เป็นนวัตกรรม

References

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2563). จิตวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ เล่ม 3 ภาค 3 และ ภาค 4. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2565). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทัซซิงก์ ไลล์. (2562). จิตวิทยาเพื่อชีวิตที่ดี [Psychology for Better Living] (วารุณี อมรทัต, ผู้แปล). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

นัฐกานต์ ฐิติจำเริญพร และ กัลยกิตติ์ กีรติอังกูร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงานองค์การธุรกิจของบริษัทโตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด. Veridian E-Journal, Silpakorn University (ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 11(2), 651-669.

พลอาสาสมัคร อนุกูล บุญรักษา. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา 4 ของกองบัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 31 (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สมแพง อินอาน, สายันต์ บุญใบ และ สุรัตน์ ดวงชาทม. (2566). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 65-76.

อดิเรก วรรณเศียร. (2566). การพัฒนาแบบจำลองแบบสมบูรณ์ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Brown and Moberg. (1980). Organization Theory and Management : A Macro Approach, New York : John Wiley & Son, Inc.

Brulde, B. (2023). Happiness Theories of the Good Life. Journal of Happiness Studies, 2007, 8(1), 15-49.

Bycio, P., Hackett, R. D., & Allen, J. S. (1995). Further assessments of Bass's (1985) conceptualization of transactional and transformational leadership. Journal of Applied Psychology, 80(4), 468–478.

Calhoun, James F. and John R. Acocella. (2021). Psychology of Adjustment and Human Relationship. New York: Random House.

Hausser, D.L. (2021). Comparison of different models for organizational Analysis. New York: john Wiley & Son.

Yahaya, R. and Ebrahim, F. (2016) Leadership Styles and Organizational Commitment: Literature Review. Journal of Management Development, 35, 190-216.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22

How to Cite

เบ็ญจวรโชติ อ. (2024). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรแห่งนวัตกรรมการจัดการสมัยใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา . วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 285–298. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281231