แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พระปัญญา นันทะ หลักสูตรพุทธศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, พุทธจิตวิทยา, แรงงาน, ชนชาติมอญ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา 2. เพื่อศึกษาวิธีการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างชนชาติชาวมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย จำนวน 485 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 3 สนทนากลุ่มเพื่อนำเสนอผลวิจัยแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ

            ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วยหลักพุทธธรรมทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 ประการ ทฤษฎีแรงจูงใจ ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ และหลักคุณภาพชีวิตขององค์กร WHOQOL 2. วิธีการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาชองชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทยในเชิงคุณภาพ คือ 1) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านกายภาพ 2) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัย 3) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสังคม 4) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจริยธรรม 5) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านคุณธรรม วิธีการสร้างแรงจูงใจในเชิงปริมาณที่ค่าสถิติมากที่สุด คือ ด้านรายได้และความมั่นคงในงาน รองลงมาคือด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานตามลำดับ 3. การนำเสนอแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย คือ การส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาทักษะ อาชีพและการสร้างระบบสนับสนุนที่เหมาะสมในการยกระดับแรงจูงใจและคุณภาพชีวิตของแรงงานชาวมอญในประเทศไทยและชนชาติอื่นที่มาทำงานในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมศิลปากร. (2558). ชนชาติมอญ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

กรมสุขภาพจิต. (2563). กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้น 8 ธันวาคม 2566, จาก https://www. dmh.go.th/test/whoqol/

กองสวัสดิการแรงงาน. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of work life). อนุสารแรงงาน, 11(4), 17-22.

กัญญารัตน์ ทุสาวุธ. (2562). คุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษาแรงงานสัญชาติพม่า เขตตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การเมืองและยุทธศาสต์การพัฒนา) สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ป. อ. ปยุตฺโต (พระพรหมคุณาภรณ์). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

“_______”. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

“_______”. (2555). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 119). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระไพศาล วิสาโล. (2564). คุณภาพชีวิตตามแนวพุทธ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์.

พระมหาสมชาย สิริจนฺโท (หานนท์). (2548). พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางของพระเทพวรคุณ (สมาน สุเมโธ) (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต พระพุทธศาสนา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Central Statistical Organization, The Republic of the Union of Myanmar. (2024). Myanmar Population and Housing Census 2022. Retrieved September 8, 2023, from https://www.csostat.gov.mm/

Guo, B. et al. (2021). The Relationship between Achievement Motivation and Job Performance among Chinese Physicians: A Conditional Process Analysis. Retrieved June, 17 2024, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33928157/

Kristiani, S.R., Hidayati, T., & Kusumawardani, A. (2021). The Influence of Achievement Motivation and Job Satisfaction on Employee Performance mediated by Affective Commitment for Development Planning and Supervision of the Regional Revenue Agency of Kutai Kartanegara Regency Officer. International Journal of Business and Management Invention, 10(11), 1-7.

Luffman, J.M., Bulleen, C.V., Liano, A.D., McLeed, P.K., Nash, E.O., & Neuman, C.C. (2004). Information technology resources management. Upper Saddle River, NJ: John & Sons Press.

Lui, B-C. (1975). Quality of life: Concept, Measure and Result. The American Journal of Economics and Sociology, 34(1), 12.

McClelland, D.C. (1953). The Achievement Motive. New York: Appleton Century Crofts.

Ower, E., Bollinger, M.E., & the WHOQOL Group. (1998). WHOQOL: The World Health Organization Quality of Life Assessment. Geneva: World Health Organization.

Power, E., Bollinger, M.E., & the WHOQOL Group. (1998). WHOQOL: The World Health Organization Quality of Life Assessment. Geneva, Switzerland: World Health Organization.

Schuler, R.S. et al. (2022). The Influence of Work Behavior, Achievement Motivation, and Work Competence on Employee's Performance: a Newest Evidence. Journal of Management, 12(2), 1463-1472.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18

How to Cite

นันทะ พ. (2024). แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 1–16. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/280479