ปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามแนวพุทธจิตวิทยา
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงานของบุคลากร, พุทธจิตวิทยาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามหลักพระพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยา 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามแนวพุทธจิตวิทยา และ 3. นำเสนอปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามแนวพุทธจิตวิทยา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้านและผู้มีประสบการณ์ตรงโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อมูลแบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร ตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย อิทธิบาท 4 สังคหวัตถุ 4 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow และทฤษฎีจิตวิทยาเชิงบวกของ Seligman 2. การวิเคราะห์ปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร ตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 1) ความคิดบวก ความผูกพันกับหน่วยงาน บุคลิกภาพที่ส่งผลต่อจิตใจบริการในงาน ขยัน ยืดหยุ่นสูง การจัดการในความแตกต่างหลากหลาย ความคิดสิ่งใหม่ การสื่อสารและร่วมมือกันทำงาน 2) ใช้หลักพุทธจิตวิทยาสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3) ผู้บริหารและบุคลากรเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการพัฒนาบุคลากร และ 3. นำเสนอปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัทเอส ดี ซี เซ็นทัล เซ็นเตอร์ จำกัด ได้แก่ บุคลากรมีจิตใจในงานบริการ ทำงานรวดเร็ว มีความยืดหยุ่น เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง มีความคิดสร้างสรรค์ มีการสื่อสารที่ชัดเจน และมีความร่วมมือในการทำงาน
References
ฉัตรลัดดา เลิศจิตรการุณ, ลักษมี มีแก้ว, ศราวุธ ทาคำ, ทิพวัลย์ รามรงม และสิทธิพร กล้าแข็ง. (2557). สรรสาระองค์กรแห่งความสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
ธีร์ธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว, กฤษณา ลดาสวรรค์, ทรงวุฒิ อัศวพฤกษชาติ และปภัฎชมณ ฟูแสง. (2559). กลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุข. กรุงเทพฯ : บริษัทแอทโฟร์พริ้นท์ จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
เรวดี วัฒฑกโกศล และ พรรณระพี สุทธิวรรณ. (2559). การพัฒนากิจกรรมการคิดทางบวกเพื่อสร้างเสริมการคิดทางบวกและความสุขของนิสิต. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 9(2), 76-86.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : บริษัทธีระฟิล์มและไชเท็กซ์ จำกัด.
เศรษฐา มากล้น. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานีตำรวจ จังหวัดนครนายก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
สุภัสรา จิตต์ธรรม. (2566). ปัจจัยส่งเสริมความผูกพันของบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจตามหลักพุทธจิตวิทยา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
Oswald, A. J., Proto, E. & Sgroi, D. (2015). Happiness and productivity. Journal of Labor Economics, 33(4), 789-822.
Wlodkowski, R. J. (1993). Enhancing Adult Motivation to Learn. California: Jossey-Bass Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.