พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักปัจจัย 4
คำสำคัญ:
พระสงฆ์, การดูแลสุขภาพตนเอง, ปัจจัย 4บทคัดย่อ
บทความนี้ นำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ตามหลักปัจจัย 4 โดยพบว่ าปัจจุบันพระสงฆ์ไทยกำลังเผชิญปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน (10.4%) ความดันโลหิตสูง (45.2%) และภาวะไขมันในเลือดสูง (40.2%) โรคระบบทางเดินอาหาร (35.8%) และโรคข้อเข่าเสื่อม (27.4%) ในสมัยพุทธกาล การดูแลสุขภาพพระสงฆ์มีระบบที่ชัดเจน ประกอบด้วยการใช้ยารักษาโรคจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งเภสัช 5 ยาจากพืช สัตว์และธรรมชาติ รวมถึง การใช้ธรรมโอสถ โดยเฉพาะหลักโพชฌงค์ 7 และการสวดโพชฌังคปริตร สำหรับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในปัจจุบัน มีการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาดั้งเดิมกับการแพทย์สมัยใหม่ โดยยึดหลักปัจจัย 4 เป็นพื้นฐาน มีการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ ได้แก่ การออกกำลังกาย, การกินอาหาร, การจัดการสิ่งแวดล้อม และ 2ส ได้แก่ การจัดการความเครียด และการเลิกสูบบุหรี่ รวมถึง มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติเพื่อเป็นกรอบในการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาวะของชุมชน และพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์
References
กรมการแพทย์. (2562). สถานการณ์สุขภาพพระสงฆ์และการดูแลรักษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการดูแลด้านโภชนาการสำหรับพระสงฆ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.
ปิติณัช ราชภักดี. (2561). การสำรวจภาวะสุขภาพพระสงฆ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2549-2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ปุ๋ย แสงฉาย. (2521). เภสัชกรรมแผนโบราณ. กรุงเทพฯ : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). การแพทย์แผนพุทธ. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต. (2558). การพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2561). การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2563). แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมสำหรับพระสงฆ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
“________”. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2562). คู่มือการดูแลผู้ป่วยสำหรับพระคิลานุปัฏฐาก. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2563). รายงานการสำรวจสถานการณ์สุขภาพพระสงฆ์ในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (2560). แนวทางการพัฒนาจิตและปัญญาสำหรับพระคิลานุปัฏฐาก. กรุงเทพฯ : วัดสระเกศ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). คู่มือการดูแลสุขภาพพระสงฆ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). รายงานสถานการณ์สุขภาพพระสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.