การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • พระธรรมวชิรมุนี (บุญชิต ญาณสํวโร) สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิปัสสนา, กัมมัฎฐาน, การศึกษา, พระพุทธศาสนา, ศาสตร์สมัยใหม่

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ ใช้วิธีการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ผู้สอนวิปัสสนา และนักวิชาการในมหาวิทยาลัย จำนวน 25 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูล (content analysis) ที่ได้จากการศึกษาในภาคสนาม

            ผลการวิจัยพบว่า 1. กรรมฐานในพระพุทธศาสนามีแนวปฏิบัติที่เรียกว่ากรรมฐาน 40 วิธีโดยมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทุกระดับชั้น ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกจัดให้มีการเรียนการสอนในทุกหลักสูตร โดยในแต่ละหลักสูตรใช้แนวปฏิบัติที่เรียกว่าสติปัฎฐาน 4 ในการสอนใช้แนวปฏิบัติที่เรียกว่ายุบหนอ พองหนอเป็นกลไกในการศึกษาและพัฒนาบุคคลโดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ให้มีลักษณะทางกายภาพที่ตื่นรู้และมีสติ  2. พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ พระพุทธศาสนาเชื่อมประสานเข้าได้อย่างมีประสิทธิผลในทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ซึ่งสัมพันธ์กับวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนา เช่น วิปัสสนากรรมฐานกับสุขภาวะ วิปัสสนากับการพัฒนาสมรรถนะในการทำงานของบุคคล หรือ ศักยภาพทางการบริหารกับวิปัสสนาหรือพระพุทธศาสนา เป็นต้น และ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ มีงานการศึกษาที่เกี่ยวกับวิปัสสนากับกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านจิตบำบัด ดังงานศึกษา "The Use of Acceptance and Commitment Therapy to Prevent the Rehospitalization of Psychotic Patients: A Randomized Controlled Trial," และงานเรื่อง "The Benefits of Being Present: Mindfulness and Its Role in Psychological Well-Being," โดยทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างพระพุทธศาสนาหรือวิปัสสนากรรมฐานกับจิตวิทยา วิปัสสนากรรมฐานกับกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สันติภาพ การรักษาสุขภาพและสุขภาวะทางจิต เป็นต้น

References

นภาพัทธ์ งามบุษบงโสภิน และคณะ. (2565). กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างสมาธิกับปัญญาในการปฏิบัติกรรมฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(1), 126-141.

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวัฒน์. (2539). พุทธทาสภิกขุกับทฤษฎีธรรมิกสังคมนิยม. พุทธศาสน์ศึกษา(พฤษภาคม-สิงหาคม), 29-52.

ปมณฑ์ณัฐ จงวัฒนานุกูลกิจ และคณะ. (2563). รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาของจิตอาสาในกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ วัดวังตะวันตก, 5(1), 183-196.

ผุสดี โตสวัสดิ์. (2562). การบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 24(2), 1-17.

พระครูปลัดไพรัช จนฺทสโร (กาญจนแก้ว). (2561). การแก้ปัญหาโรคความเครียดด้วยพุทธปรัชญาว่าด้วยมหาสติปัฏฐาน 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 377-393.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ : วัดราชโอรสาราม.

พระปลัดสมภาร สมภาโร, พระธรรมวัชรบัณฑิต และประพันธ์ ศุภษร. (2564). ผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อสุขภาพจิตของบุคคล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 2260-2271.

พระพรหมบัณฑิต. (2556). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ Integrative method : Buddhism & Modern Sciences. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&book_id=15374

พระมหาชิต ฐานจิตฺโต และคณะ. (2561). การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 6(3), 1171-1181.

พระมหาไพฑูรย์ ปนฺตนนฺโท (วรรณบุตร). (2563). การบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยการประยุกต์ใช้การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน. สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 11(2), 99-110.

พระมหาวินัย วชิรเมธี. (2015). ศึกษาขณิกสมาธิในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ตามแนวมหาสติปัฏฐานสูตร. วารสารบัณฑิตศาสน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 13(2), 76-84.

พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย. ธรรมธารา วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา, 6(1), 5-50.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2565). พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่: ตัวแบบวิธีวิทยาว่าด้วยพุทธบูรณาการและพุทธสหวิทยาการ. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2565, จาก http://oldweb.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=1733&articlegroup_id=278

พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร,บุญร่วม คําเมืองแสน และพระมหาพจน์ สุวโจ. (2564). การปฏิบัติกรรมฐานเพื่อบำบัดความเครียด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 329-342.

พุธิธาดา เดชพิทักษ์. (2562). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขจากการวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(2), 93-100.

ภุชง ฝูงชมเชย. (2559). การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายดีที่สุด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 5(1), 124-130.

ริชาร์ด แมนดิอัส ริค แฮนสัน. (2557). สมองแห่งพุทธะ [Buddha's Brain: The Practical Neuroscience of Happiness, Love, and Wisdom Buddha] (ณัชร สยามวาลา ผู้แปล). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินร์ธรรมะ.

ลัดดา เฉลิมกาญจนา, พระธรรมวัชรบัณฑิต และ ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2565). รูปแบบการให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนสู่วิถีสันติสุขในศาลเยาวชนและ ครอบครัวกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(1), 1-15.

วราลี ตั้งวินิต. (2562). แนวทางบูรณาการพุทธบำบัดเชิงนิเวศเพื่อกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs). วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(เพิ่มเติม), 1-14.

วราวุฒิ บูลกุล, พระธรรมวัชรบัณฑิต และ ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2564). พุทธสันตินวัตกรรมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาองค์กรสันติสุขของธุรกิจการให้บริการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(7), 1-15.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2535). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

สมภาร พรมทา. (2565). พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.youtube.com/watch?v=396YqEppi1g

อำพล บุดดาสาร และ พระมหาชิต ฐานชิโต. (2559). พุทธวิธีการสอนให้บรรลุธรรมตามลำดับวิปัสสนาญาณแก่ผู้ฟังและผู้ปฏิบัติธรรม. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 2(1), 59-74.

Bach P, et al. (2002). The Use of Acceptance and Commitment Therapy to Prevent the Rehospitalization of Psychotic Patients: A Randomized Controlled Trial. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 70(5), 1129-1139.

Brown KW, et al. (2003). The Benefits of Being Present: Mindfulness and Its Role in Psychological Well-Being. Journal of Personality and Social Psychology, 84(4), 822–848.

Hanson, R. and Mendius, R. (2009). Buddha’s Brain : the practical neuroscience of happiness, love, and wisdom. Oakland: New Harbinger Publications.

Hayes SC, et al., eds. (2004). Mindfulness and Acceptance: Expanding the Cognitive-Behavioral Tradition. Guilford Press.

Kabat-Zinn J, et al. (1992). Effectiveness of a Meditation-Based Stress Reduction Program in the Treatment of Anxiety Disorders. American Journal of Psychiatry, 149(7),936-943.

Teasdale JD, et al. (2000). Prevention of Relapse/Recurrence in Major Depression by Mindfulness-Based Cognitive Therapy. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 68(4), 615–623.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19

How to Cite

(บุญชิต ญาณสํวโร) พ. . (2024). การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 89–103. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279531