การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ รุ่งสว่าง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศุภฤกษ์ ทานาค คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นาตยา ปิลันธนานนท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การอ่าน, ภาษาไทย, ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน, การพัฒนา

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2. เพื่อประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีอ่างทอง จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 119 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา เสริมสมรรถนะการอ่านในชีวิตประจำวัน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบทดสอบเพื่อประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และร้อยละ

            ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความฉลาดรู้ด้านการอ่านที่สูงขึ้น โดยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศมีขั้นตอนการเรียนรู้ที่ชัดเจน และเป็นลำดับขั้น ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้อย่างเป็นระบบตามขั้นตอนต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีความฉลาดรู้ด้านการอ่านในการทำความเข้าใจบทอ่านด้วยการตีความ จับใจความสำคัญ วิเคราะห์ วิจารณ์ สะท้อนความคิดเห็น พิจารณาคุณค่าบทอ่าน และนำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปใช้อย่างเหมาะสม และ 2. ผลการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านของนักเรียนแต่ละห้องเรียนมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ในระดับที่แตกต่างกัน โดยนักเรียนส่วนมากมีผลการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2563). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สง่า วงค์ไชย. (2563). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การอ่าน. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2565, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/218436

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทย วัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2565, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/

“_______”. (2564). FAKE News กับความฉลาดรู้ด้านการอ่านของ PISA. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2566, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/infographics-issue-2021-58.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ส. (2552). ตัวชี้วัดและ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักราชบัณฑิตยสถาน. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดความฉลาดรู้ (literacy). กรุงเทพฯ : สำนักราชบัณฑิตยสถาน.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (ม.ป.ป.). ชุดฝึกอบรมการยกระดับคุณภาพผู้เรียน สู่ความพร้อมในการประเมินระดับนานาชาติ (PISA) : การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Ali, H. H., & Abbas, S. H. (2020). The Effect of Fives Strategy on Iraqi Efl University Students Reading Comprehension and Writing Performance. Retrieved November 3, 2022, from https://doi.org/10.37648/ijrssh.v10i03.037

Burdett, J. (2003). Making groups work: University students’ perceptions. International Education Journal, 4(3), 177-191.

Drani, G. A. (2019). The effect of using THIEVES strategy on students’ reading comprehension ability at grade XI SMA N 1 Tambusai Utara. IAIN Padangsidimpuan Padang Sidimpuan, Indonesia.

Dymock, S., & Nicholson, T. (2010). “High 5!” Strategies to Enhance Comprehension of Expository Text. Retrieved November 3, 2022, from https://www.dentonisd.org/cms/lib/TX21000245/Centricity/Domain/1614/High%20Five.pdf

Larasati, C., Hasanah, A., & Sartika, E. (2023). Using THIEVES Strategy to Improve the Seventh Grade Students’ Reading Comprehension Achievement. Jadila: Journal of Development and Innovation in Language and Literature Education, 3(2), 107-117.

OECD (2019), PISA 2018 Assessment and Analytical Framework. Retrieved November 3, 2022, from https://www.oecd-library.org/education/pisa-2018-assessment-and-analytical-framework_b25efab8-en

Shea, M. (2011). Parallel learning of reading and writing in early childhood: Taylor & Francis.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19

How to Cite

รุ่งสว่าง พ., ทานาค ศ. ., & ปิลันธนานนท์ น. (2024). การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 119–136. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279455

ฉบับ

บท

บทความวิจัย