การพัฒนาการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยการประยุกต์ตามหลักสาราณียธรรม
คำสำคัญ:
การบริหารงาน, องค์การบริหารส่วนตำบล, สาราณียธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับคุณภาพการให้บริการ สาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 9 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทนําเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง แจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสําคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยประยุกต์ตามหลักสาราณียธรรม ( = 3.56) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 3.84) รองลงมา ด้านสุขอนามัย ( = 3.76) ด้านศาสนาและวัฒนธรรม ( = 3.74) ด้านเศรษฐกิจ ( = 3.38) และด้านสังคมและการศึกษา ( = 3.08) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 กับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ สาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน (R=.521**) โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน 3. แนวทางการประยุกต์ใช้หลัก สาราณียธรรมในการการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ด้านเมตตากายกรรม คือ ควรมีความกระตือรือร้นและทุ่มเทต่อการปฏิบัติงาน ด้านเมตตาวจีกรรม คือ ให้มีเมตตา ด้วยการพูด พูดในสิ่งที่เกิดประโยชน์ พูดจาไพเราะ ด้านเมตตามโนกรรม คือ ต้องคิดดีต่อเพื่อนร่วมงานและต่อประชาชน ด้านสาธารณโภคี คือ ใช้วัสดุอุปกรณ์ด้วยความประหยัด ด้านสีลสามัญญตา คือ ดำรงตนเป็นผู้มีคุณธรรมศีลธรรมและตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้องตีงาม ด้านทิฏฐิสามัญญตา คือ ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและประพฤติตนเป็นกลาง
References
พระมหาอนุชิต อนุจารี . (2557). การพัฒนาสังคมตามหลักสาราณียธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลแข้ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
รัตน์ชนก นวลแขว่ง. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารงานขององค์ปการบริหารส่วนจังหวัดน่าน (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
วิฑูรย์ ขาวดี. (2562). ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ราชบุรี.
สุข บุปผา และ นวภัทร โตสุวรรณ. (2563). ประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองล้อมแรด อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง. สืบค้น 4 กันยายน 2563, จาก http://101.109.41.140/tak/northern/new_web/conference/files/journal/J6.pdf
สุธรรม ขนาบศักดิ์. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. อินทนิลทักษิณสาร, 14(2), 153-173.
สัญญา เคณาภูมิ และคณะ. (2562). การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.
อาภรณ์รัตน์ เลิศไผ่รอด. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์ (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.