ผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยา ต่อการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้แต่ง

  • สุพรรษา กุลวรรณ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การให้การปรึกษารายบุคคล, พุทธจิตวิทยา, ผู้ป่วยมะเร็ง, การปรับตัว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง เป็นวิธีวิจัยแบบผสมผสานใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียว (One-group pretest -posttest design) วัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการให้การปรึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงฆ์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่ 1-2 มีอายุระหว่าง 40-70 ปี การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 ราย โดยให้การปรึกษา คนละจำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาครั้งนี้ คือ แบบบันทึกการให้การปรึกษารายบุคคล และแบบประเมินการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบเครื่องหมายของวิลคอกซัน เพื่อทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า ผลคะแนนการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็งหลังการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยามากกว่าก่อนการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์ค่าคะแนนรายด้าน พบว่า ด้านความต้องการด้านร่างกาย ด้านความต้องการด้านอัตมโนทัศน์ ด้านความต้องการด้านบทบาทหน้าที่ และด้านความต้องการด้านการพึ่งพาอาศัย หลังการทดลองมีมากกว่าก่อนการทดลองในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า การให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาช่วยส่งเสริมการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็งให้เข้าใจตนเองและเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

References

กรรณิการ์ มีสวัสดิ์. (2564). รูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยารายบุคคลต่อสตรีที่มีภาวะซึมเศร้าผ่านสื่อสังคม (ดุษฎีนิพน์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุทธยา.

จิตชญา บุญนันท. (2552). บทบาทพยาบาลในการสื่อสารเรื่องไม่พึงประสงค์หรือแจ้งข่าวร้ายในผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารสภาการพยาบาล, 24(3), 7-19.

ปุณรดา พวงสมัย. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ระดับการศึกษา ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความเข้มแข็งในการมองโลก แรงสนับสนุนทางสังคม กับการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

มัณฑณา วรนิมมานนท์. (2558). การเยียวยาทางจิตใจด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง: การศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา (ดุษฎีนิพน์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

วราภรณ์ ยศทวี. (2562). การปรับตัวของหญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(2), 280.

วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา. (2559). การพัฒนารูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการของพระสงฆ์ที่มีบทบาทให้การปรึกษา (ดุษฎีนิพน์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุทธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12

How to Cite

กุลวรรณ ส., ภูวชนาธิพงศ์ ก., & ฐิติโชติรัตนา ว. (2024). ผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยา ต่อการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(1), 151–169. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277417