การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชานุเคราะห์ จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ภาวิณี บุญจันดา สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ศุภาวีร์ เลิศผาติวงศ์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • รังสรรค์ หล้าคำจา สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • วิมลพร ระเวงวัลย์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ทักษะการอ่าน, ภาษาอังกฤษ, เทคนิคการอ่าน SQ3R, นักเรียน, ประถมศึกษาชั้นปีที่ 6

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชานุเคราะห์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชานุเคราะห์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน โรงเรียนประชานุเคราะห์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test

             ผลการวิจัยพบว่า

  1. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชานุเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
  2. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชานุเคราะห์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.34)

References

กรรณิการ์ ประทุมโทน และ ศิริภรณ์ บุญประกอบ. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก โดยใช้หนังสือนิทาน เรื่อง การทำนาโยน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 14(2), 371-382.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา แก้วบ้านดอน และ ธีราภรณ์ พลายเล็ก. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/1 กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบวรมงคล. วารสารการเรียนรู้และการพัฒนาสมัยใหม่, 6(4), 201-211.

กาญจนา ไกลถิ่น. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะความร่วมมือของนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา.

เบญชญา นาครัตน์. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้นิทานพื้นบ้านไทย วิชาภาษาอังกฤษ (อ21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (รายงานผลการวิจัย). โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์. นครสวรรค์.

พรรณิการ์ สมัคร. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2549). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลภา จินตนเสรี. (2544). เอกสารการสอนชุดวิชาการอ่านภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วสันต์ หอมจันทร์. (2562). การใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 3(2), 53-62.

วันเพ็ญ วัฒฐานะ. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านและศึกษาพฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

สุพรรณี วราทร. (2545). การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี เพชรคง. (2561). ผลการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. นนทบุรี.

อินทิรา ศรีประสิทธิ์. (2552). โครงการศึกษาการเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยวิธีการถอดรหัสตัวอักษรให้เป็นเสียงของนักเรียนในโรงเรียนเอกชน. เอกสารการอบรมครูในสภาพแวดล้อมที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ วันที่ 24-26 มีนาคม 2552. สืบค้น 16 สิงหาคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/phonicsforchildren/home/related-research

Burmister, L. E. (1978). Reading strategies for middle and secondary school teachers (2nd.). Masachusetts: Addison Wesley.

Canavan, D.D. and Henchman, R.H. (1966). The way to reading improvement. Boston: Allyn & Bacon.

Hallie, K.Y. and Ruth, H.Y. (1996). Literature-Base: Reading Activities. New York: Allyn & Bacon.

Paulston, C.B. and Bruder, M.N. (1976). Teaching as a Second Language: Techniques Procedures. New York: Winthop Pubishers.

Rivers, M. W. (1980). English Teaching Foreign Language Skills. Chicago: The University of Chicago Press.

Robinson, F. P. (1961). Effective study. New York: Harper & Brothers.

Wandi Syahfutra. (2017). Improving students’ reading comprehension by using SQ3R method. Journal of English and Arabic Language Teaching, J.E.A.L.T. 8(2), 133-140.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-25

How to Cite

สนธิรักษ์ ธ., บุญจันดา ภ., เลิศผาติวงศ์ ศ., หล้าคำจา ร., & ระเวงวัลย์ ว. (2023). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชานุเคราะห์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 9(1), 219–233. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/267512